บทความนี้ เป็นการนำเรื่องราวของประชาชนในชุมชนต่างๆ ที่ได้นำศาสตร์พระราชา โดยเฉพาะหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นำไปใช้จนประสบความสำเร็จในชุมชน ได้นำมาสื่อในรูปแบบของ "อนิเมชั่น" เพื่อให้เข้าถึงประชาชนทุกๆ กลุ่ม สั้นๆ เข้าใจง่ายๆ ภายใน 3 นาที
6 พ.ย. 2565
ลุ่มแม่น้ำปัตตานีจะมีลักษณะเป็นแนวยาวจากทิศเหนือไปทิศใต้ โดยที่ทิศเหนือจะติดกับอ่าวไทย ที่ปากแม่น้ำปัตตานี ทิศใต้จะติดกับประเทศมาเลเซีย มีแม่น้ำปัตตานีเป็นลำน้ำสายหลัก และแม่น้ำยะหาเป็นลำน้ำสาขา ในช่วงปลายมีคลองหนองจิก แยกออกจากแม่น้ำปัตตานีและยังคลองเล็กๆ อีกมากมาย ลุ่มแม่น้ำปัตตานีมีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาสันกาลาคีรี อ.เบตง จ.ยะลา ไหลจากทิศใต้ขึ้นไปทิศเหนือ แล้วไหลลงอ่าวไทย ที่ อ.เมือง จ.ปัตตานี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขา มีพื้นที่ราบเรียบเล็กน้อย ทางตอนล่างของลุ่มน้ำเป็นที่ราบลุ่ม มีความยาวประมาณ 210 กิโลเมตร
31 ต.ค. 2565
ลุ่มน้ำสายบุรี มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยิ่งใหญ่ ได้รับการขนานนามมาแต่โบราณนับพันปีแล้วว่า “แม่น้ำทองคำ” มีทรัพยากรธรรมชาติ เช่น เหมืองแร่ทองคำ และความอุดมสมบูรณ์อันแสนพิเศษของลุ่มน้ำสายบุรี มีเทือกเขาสลับซับซ้อน ชุ่มชื้น และแหล่งเกิดน้ำ นา ป่าพรุ
3 ต.ค. 2565
ดอกไม้เมืองหนาวหลากหลายพันธุ์ภายในสวนหมื่นบุปผา ในโครงการไม้ดอกเมืองหนาว ต.ตะเนาะแมเราะ อ.เบตง จ.ยะลา ถูกปลูกขึ้นและดูแลเป็นอย่างดี ท่ามกลางบรรยากาศที่ล้อมรอบด้วยภูเขาและสายหมอก กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อในอำเภอเบตง ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ต่างมาพักผ่อนในช่วงสุดสัปดาห์ เบตงได้ชื่อว่ามี 3 ฤดูในวันเดียวกัน คือหนาวเย็น แดดจ้า และฝนตก
28 ก.ย. 2565
ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า ตั้งอยู่ที่ ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เป็นสถานที่ศึกษาดูงานด้านเกษตรกรรม ปศุสัตว์ ประมง และสิ่งแวดล้อม โดยใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นที่จะนำพาจังหวัดชายแดนภาคใต้สู่สันติสุขอย่างยั่งยืน ศูนย์แห่งนี้เป็นศูนย์ต้นแบบที่ได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และยุทธศาสตร์พระราชทาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา"
11 ก.ย. 2565
ข้าวไทยและพันธุกรรมมีความสำคัญในแง่เดียวกับศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี คนไทยปลูกข้าวพื้นเมือง เพราะชอบรับประทาน จึงคัดเลือกพันธุ์ที่รสชาติดี อร่อย ข้าวพื้นเมืองยังสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของพื้นที่ และบางสายพันธุ์ยังมีคุณค่าโภชนาการที่มากกว่าข้าวทั่วไป ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ซึ่งอาจมียีนส์ต้านทานโรค ทนแล้ง ทนเค็ม หรือ ทนน้ำท่วม ลักษณะพันธุกรรมเหล่านี้สำคัญต่อการพัฒนาพันธุ์ข้าวไทย
28 ส.ค. 2565
ในพื้นที่บ้านแหร อ.ธารโต จ.ยะลา เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ริมเทือกเขาสันกาลาคีรี ที่วิถีชีวิตมีความพิเศษที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น นั่นคือการผลิตกาแฟโบราณขึ้นมาดื่มเอง โดยนำความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ภายใต้โอบกอดของเทือกเขาสันกาลาคีรี มาสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน จนกลายเป็นที่มาของกาแฟโบราณบ้านแหร
28 ส.ค. 2565
นับย้อนกลับไปกว่า 60 ปีมาแล้ว ชาวบ้านนิยมปลูกไร่กาแฟ ก่อนจะมีสวนทุเรียนและสวนยางพารา ตอนนั้นชาวบ้านหันไปปลูกยางพารากันเนื่องจากราคาจูงใจ แต่ในที่สุดก็ถึงทางตัน เมื่อรายได้จากการกรีดน้ำยางไม่ดีเหมือนแต่ก่อน กาแฟยะลาจึงได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจังอีกครั้ง ความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนจึงเกิดขึ้น เกษตรกรหันกลับมาหากาแฟพืชเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้
21 ส.ค. 2565
การสร้างชุมชนเข้มแข็งเป็นหนึ่งในนโยบายในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากความเข้มแข็งของ กองกำลังภาคประชาชนในการป้องกันตนเองแล้ว ความเข้มแข็งจากภายในอันเกิดความมีคุณธรรม ที่ประชาชนยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักศาสนาอย่างเคร่งครัด แนวคิดเรื่อง “กำปงตักวา” เกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2550 และได้เริ่มอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2556 ที่มัสยิดบ้านเหนือ ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รวมถึงที่อำเภอปะนาเระ จ.ปัตตานี และที่บ้านกาสัง จ.ยะลา ซึ่งได้จัดตั้ง คณะทำงานพร้อมจัดทำแผนงานที่มีชื่อว่า “แผนการสนับสนุนผู้ทรงคุณวุฒิทางศาสนา” เป็นแนวทางหนึ่งที่ กอ.รมน.ภาค 4 สน. นำมาขับเคลื่อนเพื่อจัดตั้ง “กำปงตักวา”
19 ส.ค. 2565
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น แต่เดิมเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ประชาชนมีความเป็นอยู่ แบบสังคมเกษตรกรรมดั้งเดิม ทำนาปลูกข้าวและหาอาหารตามป่าตามลุ่มน้ำ พวกที่อยู่ตามชายทะเลก็มีอาชีพประมง ได้มากจนเหลือนำไปแลกเปลี่ยนเป็นข้าวเพื่อบริโภคในครัวเรือนได้ ไม่มีใครต้องอยู่ในภาวะอดอยากยากแค้นเลย
4 ส.ค. 2565
จากความยากจนความคับแค้นทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้ชาวบ้านครอบครัวหนึ่ง ในพื้นที่หมู่บ้านป่าบอน ต.ท่าธง อ.รามัน จ.ยะลา ได้หาทางออกให้กับการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ให้กับครอบครัวของตนเอง โดยเริ่มต้นจากการไปเรียนรู้แนวคิด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พวกเขาฝึกลดรายจ่าย หาทางเพิ่มรายได้ และใฝ่เรียนรู้เรื่องใหม่ๆ อยู่เสมอ ทำให้เห็นว่าความต้องการด้านอาหารเป็นความต้องการที่สำคัญของทุกชีวิต ทั้งนี้ในพื้นที่ อ.รามัน จ.ยะลา มีการเลี้ยงปลาโดยวิธีธรรมชาติ และแบบบ่อเลี้ยงอยู่ ผลผลิตในบางครั้งไม่พอกับความต้องการของผู้บริโภค และหลายครั้งก็มีมากเกินกว่าจะบริโภคได้ทัน จากแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามศาสตร์พระราชา จึงทำให้เขาคิดว่าหากมีการนำปลาสดที่เหลือ มาถนอมไว้ จะทำให้มีอาหาร ปลาบริโภคในหมู่บ้านได้ตลอดทั้งปี
25 ก.ค. 2565
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชาชนมีความเดือดร้อนจากการแพร่ระบาดของยาเสพติด จำนวนมาก แม้ทางราชการจะพยายามให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดมากเพียงใด แต่ก็ยังไม่สามารถลดขนาดของปัญหาให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ทั้งนี้เพราะเป็นปัญหาที่ต้องใช้ความใกล้ชิดและต่อเนื่องในระดับพื้นที่ ให้ได้รับความร่วมมือจากประชาชนอย่างจริงใจ
18 ก.ค. 2565
ที่นี่เป็นหนึ่งในพื้นที่ต้นแบบที่สามารถพึ่งพาตนเอง ตามแบบวิถีชีวิตของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี เริ่มจากมีการพัฒนา ระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น น้ำเพื่อการเกษตร อุปโภคและบริโภคในครัวเรือน การบริหารจัดการพื้นที่การเกษตร การลดรายจ่าย ในครัวเรือน ไปสู่การรวมกลุ่มผลิตเพื่อจำหน่าย สร้างรายได้ ส่งเสริมการผลิตที่หลากหลาย เช่น พืชเศรษฐกิจมูลค่าสูงและการปศุสัตว์
10 ก.ค. 2565
จากการสำรวจความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรใน จ.นราธิวาส เพื่อรองรับการดำเนินงานในโครงการฟื้นฟูนาร้าง เพื่อการปลูกข้าวในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี ในปี พ.ศ.2551 พบว่าข้าวพันธุ์หอมกระดังงาเป็นพันธุ์ข้าว ที่เกษตรกรมีความต้องการเมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์เพื่อนำมาปลูกมากที่สุด ข้าวหอมกระดังงาเป็นพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นเมืองที่มีการปลูกในจังหวัดนราธิวาสมาอย่างยาวนาน พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ที่อำเภอตากใบ โดยจุดเด่นของข้าวพันธุ์นี้ จะมีกลิ่นหอมคล้ายดอกกระดังงา ตั้งแต่ออกรวงจนกระทั่งนำไปหุง เมล็ดข้าวมีสีน้ำตาลเข้ม ข้าวกล้องมีสีแดงและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ปริมาณโปรตีน ธาตุเหล็ก และสารต้านอนุมูลอิสระมากในข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอกมีปริมาณไขมัน สังกะสี แคลเซียม สาร GABA และสารกลุ่มวิตามินอีกมากมาย เป็นที่นิยมของกลุ่มผู้บริโภคข้าวเพื่อสุขภาพ
4 ก.ค. 2565
ความเดือดร้อนทางด้านเศรษฐกิจ ที่มีผลกระทบมาจากปัญหาทางด้านสังคม และการก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รัฐบาลก็มีการกำหนดนโยบายในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนมาโดยตลอด ปัญหาที่สำคัญมากที่สุดคือ เมื่อประชาชนว่างงาน ยากจน ก็มักมีโครงการฝึกอาชีพหรือส่งเสริมกิจกรรมให้กับคนที่ไม่มีความพร้อม การลงทุนของรัฐจึงมักสูญเปล่า จากการแก้ปัญหาที่ผ่านมา เพื่อเป็นการแก้ปัญหาและเสริมช่องว่างดังกล่าว จึงได้มีประชาชนจิตอาสารวมตัวกันเพื่อคิดแก้ไข ปัญหานี้ร่วมกับทางราชการ โดยให้ราชการหนุนการทำงานของพวกเขา
15 มิ.ย. 2565
จากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การแก้ปัญหาในพื้นที่ ต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการแก้ปัญหาอย่างเฉพาะจุด จึงทำให้ภาครัฐที่เข้ามาทำหน้าที่แก้ไขปัญหา ต้องใช้ความรู้ความสามารถ และใช้ต้นทุนของทรัพยากรบุคคลในพื้นที่เข้ามาร่วมแก้ปัญหาร่วมกัน
8 มิ.ย. 2565
จากปัญหายาเสพติดสู่การรวมตัวกันของจิตอาสาประชาสังคมที่เรียกว่า “จิตอาสาญาลันนันบารู” จากผลการสำรวจปัญหาที่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องการให้รัฐช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วนมากที่สุด ที่สำคัญมี 2 ด้าน คือปัญหายาเสพติด และปัญหาด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกันมาโดยตลอด ครอบครัวใดที่มีปัญหา ยาเสพติดก็จะทำให้มีปัญหาความยากจนตามมา ครอบครัวใดที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจก็มักจะส่งผลให้เกิดปัญหายาเสพติด ด้วยเสมอ ทำให้เกิดความยากจนซ้ำซากวนเวียนอยู่ในสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่สิ้นสุด
6 มิ.ย. 2565
นับแต่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 พระองค์ทรงดำรงไว้ซึ่ง ธรรมทั้งปวงและทรงเปรียบประดุจแสงชัชวาลที่สาดส่อง นำการพัฒนาประเทศ ให้มั่นคงยั่งยืนมาเป็นเวลาอันยาวนาน ด้วยพระปณิธานอันแกร่งกล้าที่จะทรงเสียสละประโยชน์ส่วนพระองค์ เพื่อพสกนิกรชาวไทย และทรงถือว่าทุกข์ของพสกนิกร คือ ทุกข์ของพระองค์ ดั่งพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
2 มิ.ย. 2565
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดจำนวนมาก เนื่องด้วยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะเยาวชนมีการศึกษาน้อย ว่างงาน ยากจน ไม่เคร่งครัดในศาสนา และมีค่านิยมแนวใหม่เกิดขึ้น ทำให้ไม่มีเป้าหมายในชีวิต เป็นเหตุให้ใช้ยาเสพติดมากขึ้น นับเป็นภัยซ้ำเติมให้พ่อแม่ต้องได้รับความเดือดร้อนอัตคัดคับแค้นหนักยิ่งขึ้น แม้บำบัดหายแล้วก็กลับไปอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบเดิมที่ยังมีปัญหาการแพร่ระบาด ก็มักหวนกลับไปเสพซ้ำอีก
25 พ.ค. 2565
ปราชญ์ หมายถึง ความรู้ นักปราชญ์ก็คือผู้ที่รักในความรู้ ความรู้ที่ยกย่องกันก็มี 2 แบบ คือ ความรู้แบบแนวราบกับแนวดิ่ง - แนวราบ ก็คือ รู้ทุกเรื่อง แต่อาจจะไม่รู้ลึก - แนวดิ่ง คือ ความรู้เจาะลึกเป็นเรื่องๆ
16 พ.ค. 2565
เศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระราชดำริชี้แนวทางการดำเนินชีวิตให้แก่พสกนิกรชาวไทยมาอย่างยาวนาน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท ด้วยองค์ประกอบของหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข