อนิเมชั่น เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ตอน ชุมชนพึ่งตนเองบ้านละโพะ

Last updated: 18 ก.ค. 2565  |  1478 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อนิเมชั่น เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ตอน ชุมชนพึ่งตนเองบ้านละโพะ

ความเป็นมา : ที่นี่เป็นหนึ่งในพื้นที่ต้นแบบที่สามารถพึ่งพาตนเอง ตามแบบวิถีชีวิตของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี เริ่มจากมีการพัฒนา ระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น น้ำเพื่อการเกษตร อุปโภคและบริโภคในครัวเรือน การบริหารจัดการพื้นที่การเกษตร การลดรายจ่าย ในครัวเรือน ไปสู่การรวมกลุ่มผลิตเพื่อจำหน่าย สร้างรายได้ ส่งเสริมการผลิตที่หลากหลาย เช่น พืชเศรษฐกิจมูลค่าสูงและการปศุสัตว์

    ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกษตรกรมักนิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยวโดยเฉพาะยางพารา แต่ภาคใต้จะมีฤดูฝนที่ยาวนาน ทำให้มีช่วงระยะเวลาในการกรีดยางน้อย ในการพัฒนาหมู่บ้านละโพะขั้นพื้นฐานได้แก้ปัญหาด้านน้ำ โดยร่วมกันซ่อมแซมคูใส้ไก่เพื่อการเกษตร และกระตุ้นเกษตรกรในพื้นที่ 127 ไร่ ให้แก้ปัญหาพื้นที่นาร้าง ปรับปรุงบำรุงดิน โดยนำองค์ความรู้การทำนาแบบโยนกล้า ที่ประสบความสำเร็จ

    กระบวนการที่มุ่งหวังให้ชาวบ้านสามารถพึ่งตนเองได้ โดยได้ประสานกับผู้อำนวยการโรงเรียน เพื่อขอให้บ้านละโพะ ได้ใช้เป็นพื้นที่โครงการ เพราะเป็นสถานที่รกร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรมาเกือบ 20 ปี ซึ่งตรงกับเป้าหมายที่ต้องการ เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ก่อนจะขยายไปสู่วงกว้าง โดย อสพ.ทำงานร่วมกับหลายภาคส่วน อาทิ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน รวมถึงอบต. และหน่วยงานอื่นๆ

    ชาวบ้านเกษตรกรที่นี่ ได้มีการพัฒนาคุณชีวิตและจัดการทรัพยากรน้ำ จนสามารถคืนผืนนากลับมาใหม่ เป็นการทำนาแบบทฤษฎีใหม่ และเกษตรอินทรีย์ ทำเกษตรแบบผสมผสาน ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ตลอดทั้งปี มีเศรษฐกิจดีขึ้นตามลำดับ ได้บริโภคในครัวเรือน เป็นการลดค่าใช้จ่าย จากนั้นจึงค่อยขยายผลสู่การจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ต่อไป

 

 

    การทำเกษตรกรรมแบบครบวงจรทั้งเลี้ยงปลาในบ่อ เลี้ยงเป็ดและไก่บ้าน การปศุสัตว์ การปลูกผัก พืชเศรษฐกิจ โดยมีหลายหน่วยงาน รวมทั้งปราชญ์ชาวบ้าน มาช่วยส่งเสริม จนทำให้ชาวบ้านได้นำความรู้นั้นมาทำเกษตรในแนวทฤษฎีใหม่ ซึ่งทำให้พวกเขาได้ผลผลิตมากขึ้น และในที่สุดสามารถเชื่อมโยงสู่โลกภายนอกได้ โดยจัดตั้งกลุ่มโครงการพืชผักสวนครัว รั้วหลังบ้าน ปลูกพืชผัก เศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ผักกาด และผักสลัดต่างๆ จะเห็นได้ว่าการดำเนินการระบบเกษตรผสมผสานตามหลักวิถีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นระบบการเกษตรที่ให้ผลผลิตกับเกษตรกร ทั้งมีอาหารเพียงพอแก่การบริโภค การเพิ่มการมีงานทำ การมีรายได้อย่างต่อเนื่อง สามารถใช้ทรัพยากรภายในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี

ด้วยความปรารถนาดีจาก กองอำนวยการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้