หลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ อะไร ?
เศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระราชดำริชี้แนวทางการดำเนินชีวิตให้แก่พสกนิกรชาวไทยมาอย่างยาวนาน
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท ด้วยองค์ประกอบของหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข สรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้
3 ห่วง คือ ทางสายกลางประกอบไปด้วย
- ห่วงที่ 1 พอประมาณ ความพอดี ไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น
- ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล การตัดสินใจ ต้องพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ
- ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง พร้อมรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
2 เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่
- เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรู้อย่างรอบด้าน น าความรู้เหล่านั้นมาพิจารณา วางแผน อย่างรอบคอบในขั้นตอนปฏิบัติ
- เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต อดทน และมีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น แบ่งระดับออกได้เป็นหลายๆ ระดับ ดังนี้
- ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว ใช้หลักตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ในทั้ง 5 ด้าน คือ จิตใจ สังคม เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาต สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ รู้ข้อมูลรายรับ รายจ่าย ลด ละ เลิก อบายมุข สอนให้เด็กรู้จักคุณค่า รู้จักใช้ รู้จักออมเงิน รักษาวัฒนธรรม ประเพณี
- ความพอเพียงระดับชุมชน เป็นการรวมกลุ่มกันทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน มาสร้างประโยชน์ เพื่อชุมชนที่เข้มแข็งมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง
- ความพอเพียงในภาคธุรกิจเอกชน คือการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของการแบ่งปัน ให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์อย่างเป็นธรรม ทั้งลูกค้า คู่ค้า ผู้ถือหุ้น และพนักงาน การขยายธุรกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป ต้องมีความรู้และความเข้าใจในธุรกิจของตนเอง รู้จัก ลูกค้า ศึกษาคู่แข่ง เรียนรู้การตลาดอย่างถ่องแท้ ผลิตในสิ่งที่ถนัดและทำตามกำลัง มีความซื่อสัตย์รับผิดชอบต่อสังคม สร้างเสริม ความรู้และจัดสวัสดิการให้แก่พนักงานอย่างเหมาะสม
- ความพอเพียงระดับประเทศ คือการบริหารจัดการประเทศ เริ่มจากการวางรากฐานให้ประชาชนอยู่อย่างพอมีพอกิน และพึ่งตนเองได้ มีความรู้ มีคุณธรรมในการดำเนินชีวิต มีการรวมกลุ่มของชุมชนหลายๆ แห่ง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ สืบทอดภูมิปัญญา การเสริมสร้างให้ประชาชนตระหนักถึงหน้าที่ มีความรัก ความสามัคคีของคนในชาติ ให้ประชาชนตระหนักว่า การปลูกจิตส านึกด้านคุณธรรม จริยธรรม จะเป็นเครื่องมือสำคัญและมีพลังที่จะสร้างภูมิคุ้มกันของประเทศชาติและประชาชนได้อย่างแท้จริง