Last updated: 4 ก.พ. 2565 | 5627 จำนวนผู้เข้าชม |
หญ้าแฝก กำแพงที่มีชีวิต เพื่อแผ่นดินอันสมบูรณ์
ความเป็นมา : หญ้าแฝก เส้นหญ้าที่ดูเหมือนจะไม่มีประโยชน์นั้น กลายมาเป็น หญ้ารักษาแผ่นดิน การชะล้างพังทลายของดิน ถือเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งมีผลต่อการเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงตระหนักถึงความสำคัญ และการจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ จึงพระราชทานพระราชดำริ ให้มีการนำหญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และปรับปรุงสภาพแวดล้อม ให้ดีขึ้น
หญ้าแฝกมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า หญ้าแฝกหอม หรือ แกงหอม แท้จริงแล้ว หญ้าแฝก มีอยู่ในโลกประมาณ 11 – 12 ชนิด แต่ในประเทศไทยพบว่า มีอยู่เพียง 2 ชนิด เท่านั้น คือ หญ้าแฝกหอม และหญ้าแฝกดอน ในธรรมชาติเราจะพบหญ้าแฝกทั้ง 2 ชนิดนี้ได้ทั่ว ๆ ไป ซึ่งถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของพืชชนิดนี้ สันนิษฐานว่าอยู่ในประเทศอินเดีย และหลังจากที่ธนาคารโลกมีการรณรงค์ให้ใช้หญ้าแฝกในการแก้ปัญหาหน้าดินถูกชะล้าง ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์
ในปี 2534 พระองค์ได้ทรงนำเรื่องหญ้าแฝกจากเอกสารของธนาคารโลกมาศึกษาต่อ ก่อนจะมีพระราชดำริ ขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ดำเนินงานพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก
หลักการ : เริ่มจากการทดลองปลูก ขยายพันธุ์ และ นำไปแจกจ่ายให้ประชาชนที่สนใจนำไปใช้ประโยชน์ในการบำรุงดิน และน้ำ
คุุณสมบัติของหญ้าแฝก การเจริญเติบโตหญ้าแฝกมีการแตกหน่อใหม่ทดแทนต้นเก่าอยู่เสมอ รากหญ้าแฝกเติบโตอย่างรวดเร็ว เส้นโตหยั่งลึกลงไปในดิน และแตกแขนงเป็นรากฝอย ประสานกันแน่นเหมือนตะข่าย เกาะยึดดินให้มีความแข็งแรง นอกจากนี้ รากยังดูดซับสารเคมี สารพิษ ที่ปนเปื้อนมากับน้ำไหลบ่า ก่อนที่จะไหลลงสู่แม่น้ำ ทำให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น
พื้นที่เหมาะแก่การปลูกหญ้าแฝก
ลักษณะการปลูก : จะต้องปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวให้ชิดติดกัน
ประโยชน์จากหญ้าแฝก
ทรงพระราชทานหญ้าแฝกเพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ของผืนแผ่นดิน และความสมบูรณ์พูนสุขให้ประชาชนอย่างแท้จริง
นับเป็นแสงแห่งพระบารมีที่จะส่องสว่างกลางใจปวงชนชาวไทยตราบนิรันดร