Last updated: 17 มี.ค. 2565 | 4104 จำนวนผู้เข้าชม |
เกษตรเพื่อชุมชน ผลิตผลเพื่อคนไทย “ดอยคํา” โครงการหลวงของพ่อเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของลูก
ความเป็นมา : เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จประพาสทางภาคเหนือ พระองค์ทอดพระเนตรการปลูกฝิ่น การตัดไม้ทำลายป่า เพื่อทำไร่เลื่อนลอย และ ความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นของราษฎรชาวไทยภูเขา จึงมีพระราชดาริให้ริเริ่มโครงการหลวง เพื่อสร้างอาชีพให้กับกลุ่มชาวไร่และชาวเขา ส่งเสริมให้ปลูกพืชผักผลไม้เมืองหนาว ทดแทนการปลูกฝิ่น ไม่ว่าจะเป็นพีช ท้อ บ๊วย และสตอเบอรี่ ที่ให้ราคาสูง อันส่งผลให้ปัญหายาเสพติด ภัยแล้ง และความยากจนของราษฎร ค่อยบรรเทาลง
โดยโครงการนี้สนับสนุนให้ทําตั้งแต่ต้นนํ้าถึงปลายนํ้า เพื่อให้ทุกคนสามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเอง ต้นน้ำ คือ การผลิตพืชผลให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน กลางน้ำ คือ การรู้จักสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ปลายน้ำ คือ การส่งของให้ถึงมือผู้บริโภคโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง
ในปี 2515 โรงงานหลวงแห่งแรกก็ได้ถือกําเนิดขึ้นจากทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ ในพื้นที่บ้านยาง ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เพื่อรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรโดยตรงในราคาที่เป็นธรรม นํามาแปรรูปจำหน่าย ภายใต้สัญลักษณ์ดอยคำ จนกระทั่งวันที่ 8 สิงหาคม 2537 จึงได้จัดตั้งเป็นบริษัทดอยคําผลิตภัณฑ์อาหารจำกัด ซึ่งปัจจุบันมีโรงงานหลวงที่คอยแปรรูปอาหาร 4 แห่ง ได้แก่
ผลิตภัณฑ์ของดอยคํามีมากมาย อาทิ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากมะเขือเทศ น้ำผลไม้เข้มข้น ผลไม้อบแห้ง แยมทาขนมปัง น้ำผึ้ง ข้าวกล้อง ดอยคำยังคงพัฒนาผลิตภัณฑ์และรสชาติใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค กลุ่มที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น อาทิ น้ำผักผลไม้สกัดเย็น เป็นน้ำผลไม้ที่มีส่วนผสมของส้ม เสาวรส แครอท มะม่วง ลิ้นจี่ ลูกไหน สตรอเบอรี่ มัลเบอรี่ แอปเปิ้ล เซเลอรี สับปะรด ฟักทอง เป็นต้น โดยยังคงปณิธานที่มุ่งมั่น ในการช่วยเหลือเกษตรกร ด้วยการส่งเสริม รับซื้อและแปรรูปผลผลิต ทางการเกษตร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอาชีพ ให้ชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
นับแต่นั้นมาดอยฝิ่น ได้กลายเป็นดอยคำ ภูเขาแห่งทองคำของชาวไทย
นับเป็นแสงแห่งพระบารมีที่จะส่องสว่างกลางใจปวงชนชาวไทยตราบนิรันดร์
14 มี.ค. 2565
14 มี.ค. 2565