อนิเมชั่นโครงการพระราชดำริ "โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมากจากพระราชดำริ"

Last updated: 4 ก.พ. 2565  |  2330 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อนิเมชั่นโครงการพระราชดำริ "โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมากจากพระราชดำริ"

ป่าพรุเสื่อมโทรม สะสมดินเปรี้ยว แกล้งดินอย่างเดียว พัฒนาได้ยั่งยืน

   ความเป็นมา : เมื่อครั้งอดีตพื้นทางภาคใต้ โดยเฉพาะ จ.นราธิวาส เคยเป็นป่าพรุ ซึ่งมีน้ำขัง และลึกลงไปใต้น้ำ คือ พื้นดินอินทรีย์ ที่มีซากพืชเน่าเปื่อยทับถมกันเป็นเวลานาน จนเกิดสารไพไรท์ เมื่อสารชนิดนี้สัมผัสกับออกซีเจนในอากาศ จะทำให้เกิดกรดกำมะถันที่เป็นอันตรายต่อพืช ดังนั้นน้ำที่ขังอยู่ในป่าพรุ จึงเป็นเสมือนกำแพงกั้นไม่ให้สารไพไรท์ได้สัมผัสกับออกซีเจนในอากาศ ระบบนิเวศในป่าพรุ จึงสามารถรักษาความสมดุล ตราบใดที่ยังมีน้ำ แต่แล้วเมื่อกาลเวลาผ่านไป น้ำลดดินแห้ง เจ้าสารไพไรท์จึงได้เจอกับออกซีเจน ก่อปฏิกิริยาเคมี จนเกิดกรดกำมะถัน สะสมอยู่ในชั้นดิน ทำให้พื้นที่ทำกินกลายเป็นดินเปรี้ยวจัด ไม่สามารถเพาะปลูกได้ ประมาณการว่าเฉพาะจังหวัดนราธิวาสนั้นมีพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดกว่า 300,000 ไร่เลยทีเดียว

   พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงตระหนักถึงความเดือนร้อนของราษฎร พระองค์มีพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ขึ้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2525 เพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาที่ดินเปรี้ยวจัด ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้

   หลักการ : ทฤษฎีแกล้งดิน นับเป็นโครงการแรก ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง ด้วยกระบวนการแกล้งดินนี้ ได้แปรเปลี่ยนผืนดินเปรี้ยวจัดไร้ค่า ให้กลายเป็นพื้นที่ทำการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ ก่อเกิดต้นแบบและองค์ความรู้ และเป็นศูนย์รวมกำลังของเจ้าหน้าที่ด้านการเกษตร สังคม มารวมอยู่ด้วยกัน เป็นศูนย์กลางบริการข้อมูลและสาธิต ที่ถ่ายทอดความรู้ไปสู่ราษฎร เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัด ในพื้นที่ทำกินของตนเอง และมีการศึกษาทดลองเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสหกรรมขนาดครอบครัวแบบครบวงจร ในเรื่องยางพาราและปาล์มน้ำมัน อันเป็นพืชเศรษฐกิจของภาคใต้ด้วย

   กิจกรรมของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีดังนี้

  1. ศึกษาและพัฒนาดินอินทรีย์และดินเปรี้ยวจัด
  2. ศึกษาปัญหาระบบการปลูกพืช ร่วมกับยางพารา เช่น ระกำ
  3. การเกษตรยั่งยืนตามแนวทฤษฎีใหม่ การปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง
  4. การปลูกไม้ดอกเมืองหนาว
  5. การฝึกอบรมและส่งเสริมงานศิลปาชีพพิเศษ

 

 

   ศูนย์ศึกษาพัฒนาพิกุลทอง ได้ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกับทฤษฎีแกล้งดิน ซึ่งได้พลิกฟื้นผืนดินเปรี้ยวจัด ให้กลายเป็นแผ่นดินที่มีความเจริญงอกงาม และสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน

นับเป็นแสงแห่งพระบารมีที่จะส่องสว่างกลางใจปวงชนชาวไทยตราบนิรันดร

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้