Last updated: 14 มี.ค. 2565 | 3901 จำนวนผู้เข้าชม |
โครงการชั่งหัวมัน เปรียบเสมือนไร่ของพ่อ
ความเป็นมา : เมื่อปี 2552 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงประทับที่พระราชวังไกลกังวล มีราษฎรนำหัวมันมาถวาย พระองค์ท่านได้ทรงนำหัวมันวางบนตราชั่งโบราณในห้องทรงงาน บนพระตำหนักเปี่ยมสุข ก่อนเสด็จกลับกรุงเทพมหานคร และเมื่อเสด็จกลับมาพระราชวังไกลกังวล ทรงพบว่าหัวมันที่วางอยู่บนตราชั่งนั้น มีรากและใบอ่อนงอกขึ้นจากหัวมัน
พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสว่า “ขนาดหัวมันที่วางอยู่ในอากาศ ยังงอกราก งอกใบ ได้ขนาดนี้ แล้วนับประสาอะไร กับการนำไปปลูกลงดิน แม้ว่าจะเป็นดินที่แห้งแล้งที่สุด จะต้องเติบโตได้อย่างแน่นอน”
นับจากนั้นพระองค์ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อซื้อที่ดิน 250 ไร่ จัดตั้งโครงการในพระราชดำริ ช่างหัวมัน ที่ อ.ท่ายาง จ. เพชรบุรี ซึ่งพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่แห้งแล้งที่สุดใน จ.เพชรบุรี ที่ดินทั้งหมดมีสภาพเสื่อมโทรม ขาดแร่ธาตุ และกันดาน อีกทั้งพื้นที่นี้อยู่หลังเขาทำให้มีฝนตกน้อย เจ้าของที่ดินเดิมปลูกต้นยูคาลิปตัสไว้เพื่อตัดขาย และมีแปลงปลูกอ้อย และแปลงปลูกมะนาวอีกบางส่วน
โครงการชั่งหัวมันนี้ เปรียบเสมือนไร่ของพ่อ พระองค์ทรงพระราชทานหัวมันเทศหัวนั้น ให้ปลูกไว้ในบริเวณโครงการเพื่อขยายพันธ์อีกด้วย
หลักการ : เริ่มแรกพระราชประสงค์คือ พลิกฟื้นผืนดินที่เคยแห้งแล้งให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ สามารถกลับมาทำการเกษตรได้ โดยเริ่มต้นปลูกมันเทศเป็นพืชชนิดแรก และให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตร โดยยึดหลักเกษตรพอเพียง และเกษตรอินทรีย์ ให้กับเกษตรกรและนักวิจัย ที่มาจากองค์กรต่างๆ ที่มาช่วยกันศึกษาวิจัยแล้ว กำลังสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ เกษตรกรในพื้นที่ ที่ช่วยเข้ามาปรับปรุงพื้นที่เพื่อการเกษตร และดูงานในโครงการ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป จนก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ระหว่างความรู้วิชาการของนักวิจัย และภูมิปัญญาท้องถิ่นของเกษตรกร ก่อให้เกิดองค์ความรู้ทางการเกษตรที่ยั่งยืน
ประโยชน์ทางอ้อมนั้น คือ การนำผลผลิตทางการเกษตรที่ปลูกขึ้น ไปจำหน่ายที่ร้าน Golden Place ทุกสาขา ปัจจุบันพัฒนาเป็นศูนย์เกษตรที่มีความรู้มากมาย ในด้านการเพาะปลูก อทิ มะนาวแป้น ชมพู่เพชรสายรุ้ง ข้าวพันธุ์พื้นเมือง โคนม ไก่ไข่ ยางพารา ยางนา และการปศุสัตว์หลายหลายชนิด พัฒนาระบบชลประทาน โดยพัฒนาอ่างเก็บน้ำหนองเสือ ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำหลักของโครงการ ให้สามารถจุน้ำได้ถึง 280,000 ลบ.ม ติดตั้งระบบกระจายน้ำไปหล่อเลี้ยง บริเวณเพาะปลูก และปศุสัตว์ และติดตั้งระบบพลังงานทดแทน อย่างกังหันลม และแผง Solar cells เพื่อมเพิ่มเสถียรภาพพลังงานในพื้นที่โครงการ
วันนี้ จากผืนดินที่เคยเแห้งแล้งแห่งหนึ่งใน จ.เพชรบุรี สู่ความสมบูรณ์ที่ยั่งยืน ด้วยพระปรีชา
นับเป็นแสงแห่งพระบารมีที่จะส่องสว่างกลางใจปวงชนชาวไทยตราบนิรันดร
14 มี.ค. 2565
14 มี.ค. 2565