Last updated: 4 ก.พ. 2565 | 14473 จำนวนผู้เข้าชม |
ดินเป็นหัวใจหลักในการทำการเกษตรกรรม หากดินไม่มีคุณภาพก็ไร้ที่ทำกินของของเกษตรกร
ความเป็นมา : ย้อนไปเมื่อครั้งอดีต จังหวัดนราธิวาสที่เป็นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 300000 ไร่ มีน้ำขังตลอดปี ถึงแม้จะระบายน้ำออกหมดแล้วก็ตาม ยังยากที่จะใช้ประโยชน์ทางการเกษตรให้ได้ผล ทั้งนี้เนื่องจากดินมีสารประกอบ Fes2 (ไพไรต์) ทำให้มีกรดกำมะถัน เมื่อดินแห้งทำให้ดินเปรี้ยว ราษฎรในภาคใต้โดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาส ต้องประสบกับความทุกข์ยาก เกษตกรไม่มีพื้นที่ทำกิน เนื่องจากที่ทำกินส่วนใหญ่เป็นพื้นที่พรุ มีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ไม่สามารถทำการเกษตรใดๆ ได้เลย
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงตระหนักถึงความเดือดร้อนของราษฎร พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ ทรงศึกษาสาเหตุของปัญหา รวมถึงสภาพของสังคม วิถีชีวิต ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด จึงทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว ทรงเรียกหลักการนี้ว่า โครงการแกล้งดิน ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2525
หลักการ : ดินเปรี้ยวมีลักษณะ คือ ดินชั้นบนเป็นสีเทาหรือสีเทาเข้มถึงดำ ดินชั้นล่างเป็นดินเหนียวสีน้ำตาลปนเทา มีจุดสีเหลือง ดังนั้นพืชที่ปลูกบนพื้นที่ดินเปรี้ยวจะมีการเจริญเติบโตช้า ภาพต้นจะแคะแกรน อ่อนแอต่อโรคและแมลง
หลักการสำคัญในการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว พระองค์ทรงแนะให้ใช้วิธีง่ายๆ ที่ราษฎรสามารถทำเองได้ คือ ให้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ โดยใช้วิธีแกล้งดิน มี 3 วิธี
ด้วยการแกล้งดินนี้ ได้พลิกฟื้นผืนดินเปรี้ยวจัดที่เคยไร้ค่า ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในด้านการเกษตรได้อีกครั้ง ก่อเกิดอาชีพ สร้างผลผลิต สร้างรายได้ที่มั่นคงแก่ราษฎร
นับเป็นแสงแห่งพระบารมีที่จะส่องสว่างกลางใจปวงชนชาวไทยตราบนิรันดร์