Last updated: 30 ธ.ค. 2564 | 3006 จำนวนผู้เข้าชม |
จากพฤติกรรมเก็บอาหารไว้ที่แก้มของลิง สู่โครงการพระราชดำริ แก้มลิง เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมให้กับคนกรุงเทพ
ความเป็นมา : จากปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 2538 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ซึ่งเรื้อรังกว่า 2 เดือน ส่งผลให้น้ำท่วมหนักในเขตกรุงเทพและปริมณฑล สาเหตุมาจากพื้นที่ป่าลดลง ไม่มีพื้นที่ซับน้ำจากภูเขา เมื่อน้ำมาถึงชุมชนเร็วแต่กลับมีสิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำในเขตเมือง ทำให้น้ำระบายสู่ทะเลช้าลง และก็เอ่อท่วมหนัก สร้างความลำบากให้แก่ประชาชน และทำลายเศรษฐกิจประเทศ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงตระหนักความเดือนร้อนของประชาชน และได้มีพระราชดำริให้สร้างโครงการแก้มลิงในปี 2538 ครั้งนั้นทรงมีกระแสพระราชดำรัสว่า “ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน จะกินกล้วยได้เกือบทั้งหวีจนเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อย ๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง” ทรงเปรียบให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย พระองค์เปรียบให้กล้วยก็คือปริมาณน้ำ ส่วนแก้มลิง ก็คือสถานที่เก็บกักน้ำในช่วงฝนตก
หลักการ : หลักการอันพระปรีชาของพระองค์ คือ สร้างคลองพักน้ำไว้รองรับน้ำไว้ในเวลาฝนตก เมื่อน้ำทะเลลดต่ำลง จึงเปิดประตูระบายน้ำลงสู่ทะเล โดยอาศัยทฤษฎีแรงโน้มถ่วงตามธรรมชาติ (Gravity Flow) นั่นคือน้ำก็จะไม่ไปท่วมบ้านเรือนและแหล่งชุมชน รวมถึงเขตเศรษฐกิจ และหากน้ำทะเลหนุนสูงกว่าพื้นที่ในแก้มลิงก็จะปิดประตูระบายน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะเลไหลย้อนกลับมาสร้างปัญหาได้ โดยยึดหลักน้ำไหลทางเดียว (One Way Flow)
ปัจจุบันโครงการพระราชดำริแก้มลิง มี 3 ขนาด
โครงการแก้มลิงจะกระจายอยู่รอบพื้นที่กรุงเทพกว่า 20 จุด ทั้งทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังมีโครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" อีก 3 โครงการ นอกจากป้องกันและช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัยได้แล้ว โครงการแก้มลิงยังช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง ช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ความทุกข์ของปวงชนชาวไทย จากภัยน้ำท่วม ภัยแล้ง น้ำทะเลหนุน ถูกปัดเป่าไปด้วยพระเมตตาและพระปรีชาของพระองค์
นับเป็นแสงแห่งพระบารมีที่จะส่องสว่างกลางใจปวงชนชาวไทยตราบนิรันดร์