นายเล็ก กุดวงค์แก้ว สร้างเครือข่ายการศึกษาเพื่อชีวิต

Last updated: 20 ธ.ค. 2564  |  4373 จำนวนผู้เข้าชม  | 

นายเล็ก กุดวงค์แก้ว สร้างเครือข่ายการศึกษาเพื่อชีวิต

นายเล็ก กุดวงค์แก้ว
สร้างเครือข่ายการศึกษาเพื่อชีวิต

นายเล็ก กุดวงค์แก้ว เป็นบุคคลที่สมควรได้รับการยกย่องในฐานะที่ท่านเป็น “ปราชญ์ชาวบ้าน” และเป็นผู้นำตามธรรมชาติของชุมชน ผลงานที่โดดเด่นของนายเล็ก คือ การเผยแพร่ความคิดในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสานกับแนวคิดทางพุทธศาสนา แนวความคิดของนายเล็กสามารถนำไปปฏิบัติและก่อให้เกิดผล อีกทั้งยังสัมพันธ์กับวิถีเศรษฐกิจของชาวบ้าน บนพื้นฐานของการใช้ชีวิตอย่างพออยู่ พอกิน

ปัจจุบันนายเล็ก สามารถสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการ “พึ่งพาตนเอง พึ่งพาธรรมชาติด้วยความเคารพ” ในกว่า 300 หมู่บ้าน 94 อำเภอ ในจังหวัด 3 จังหวัด และเป็นคณะกรรมการและวิทยากรให้หลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ หน่วยงานเอกชนและองค์กรชาวบ้านหลายแห่งทั่วประเทศ

นายเล็ก กุดวงศ์แก้ว นับเป็นปราชญ์ชาวบ้านอีสานอีกท่านหนึ่ง ที่ได้เผยแพร่แนวความคิดด้านเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรยั่งยืน เศรษฐกิจชุมชนและเศรษฐกิจวัฒนธรรม โดยมีรูปธรรมการปฏิบัติอย่างชัดเจน แนวทางการปฏิบัติดังกล่าวเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ ที่ไม่แยกการศึกษาจากชีวิต เป็นการศึกษาเพื่อการอยู่ร่วมกับธรรมชาติศึกษา ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันด้วยความเกื้อกูล ศึกษาเพื่อสร้างเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาเพื่อลดการเห็นแก่ตัว และเห็นแก่ผู้อื่นมากขึ้น

เครือข่ายกลุ่มอินแปงที่นายเล็กเป็นประธานเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง ประกอบด้วยชุมชน 7 อำเภอรอบเทือกเขาภูพาน เป็นตัวอย่างของชีวิตที่งดงาม เป็นชีวิตที่ถนอมรักธรรมาชาติ ถนอมรักคน ถนอมรักการอยู่ร่วมกัน ถนอมรักวัฒนธรรม และมีจิตใจที่เกื้อกูลกัน

อยู่อย่างไท พึ่งพาตนเอง พึ่งพาธรรมชาติด้วยเคารพ

ชีวิตของนายเล็กในระยะต้นไม่แตกต่างจากชาวบ้านบ้านบัว หรือหมู่บ้านใกล้เคียงที่ตั้งอยู่เชิงเทือกเขาภพาน ขณะนั้นป่าลดความอุดมสมบูรณ์ไปมากจากการที่ชาวบ้านถางป่าเพื่ปลูกบ่อตั้งแต่ พ.ศ. 2507 และเพื่อปลูกมันสำปะหลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 นายเล็กเองก็ปลูกปอตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 และเพื่อปลูกมันสำปะหลังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 นายเล็กเองก็ปลูกปอเพื่อขายอยู่ 3 ปี จากนั้นเปลี่ยนมาปลูกมันสำปะหลังอีก 3 ปี ในระหว่างนั้นก็เกิดตั้งคำถามว่า ทำไมยิ่งปลูกพืชเศรษฐกิจ ยิ่งจน ยิ่งเป็นหนี้สิน คำตอบที่นายเล็กได้รับมาจากการพูดคุยกับผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านที่ให้ความคิดเรื่อง “เฮ็ดอยู่ เฮ็ดกิน” หรือการใช้ชีวิตคแบบพออยู่ พอ กิน เหมือนในอดีต

ในปี พ.ศ. 2530 จึงหันมาศึกษาป่าธรรมชาติบทเทือกเขาภูพานใกล้บ้านบัว บ้านเกิดและบ้านที่อยู่ในปัจจุบัน โดยมีผู้เฒ่าผู้แก่เป็นผู้ให้ความรู้ จากนั้นจึงจัดระบบชีวิตของตนเองและครอบครัวเสียใหม่ โดยใช้แนวคิด “ยกป่าภูพานมาไว้ที่บ้าน” และความคิด “ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” นำพืชพื้นบ้านประมาณ 200 ชนิดมาปลูกในดินของตนเองประมาณ 5 ไร่ ไม่ใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ถือเป็นการ “สร้างป่าใหม่ให้ชีวิต” และได้ขุดสระน้ำ 2 บ่อ เพื่อเป็น “แม่น้ำสายใหม่ให้ครอบครัว” เมื่อทดลองได้ผลจึงขยายพื้นที่เป็น 23 ไร่เพื่อให้พอเลี้ยงครอบครัว ซึ่งมีสมาชิก 14 คน ในพื้นที่ปลูกทั้งไม้ผล ไม้ใช้สอย ไม้ยืนต้นหลายชนิด และเลี้ยงทั้งวัว ควาย ไก่พื้นบ้าน ในที่สุดก็สามารถปลดหนี้สินลูกหลานไม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน

“พ่อฝึกให้ลูกๆ ทุกคนเป็นคนประหยัด ให้ขจัดวัตถุนิยม ให้ชื่นชมความเป็นไท ไม่ใฝ่ใจในการเป็นทาส ให้สามารถพึ่งพาตนเอง พึ่งพาธรรมชาติด้วยความเคารพเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม”

ชีวิตคือการศึกษา การศึกษาเพื่อชีวิต

ในช่วงปีพ.ศ. 2530 – 2532 ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นวิทยาลัยครูสกลนคร (ปัจจุบัน คือ สถาบันราชภัฏสกลนคร) ร่วมกับสถาบันพัฒนาชนบทอีสาน ได้ร่วมกันศึกษาวิจัยกลุ่มชนชาติพันธุ์เผ่ากะเลิงบ้านบัว ตำบลกุดบาก โดยส่งนายธวัชชัย กุณวงษ์ บัณฑิตอาสาสมัครเข้ามาศึกษาอยู่ในชุมชนเป็นเวลา 2 ปี นายธวัชชัยได้ตระหนักถึงภูมิปัญญาในหมู่ผู้นำชาวบ้านหลายคน เช่น พ่อเล็ก กุดวงค์แก้ว, พ่อเสริม อุดมนา, นายประหยัด โททุมพล, นายคา กุดวงค์แก้ว จากการตั้งกลุ่มพูดคุยวิเคราะห์ปัญหาในวง “โส” หรือสนทนากันอย่างเป็นทางการ ก่อให้เกิดแนวความคิดร่วมกันในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองและชุมชน จึงได้รวมกลุ่มกันในปี พ.ศ.2532 โดยตั้งชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มกองทุนพันธุ์ไม้พื้นบ้าน” ซึ่งในช่วงแรกได้ร่วมกันไปศึกษาดูงานการเพาะพันธุ์หวายที่อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร จำนวน 30 คน ส่วนใหญ่เป็นคนบ้านบัว หลังจากกลับมาจากการศึกษาดูงานแล้ว นายเล็กเป็น 1 ใน 13 คนจากกลุ่มที่เริ่มทำการเพาะขยายพันธุ์หวายพื้นบ้านเอง โดยได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิหมู่บ้านจำนวน 2,500 บาท ทางกลุ่มได้นำไปซื้อถุงดำเพื่อใช้เพาะกล้าไม้พื้นบ้านมาแจกจ่ายให้กับสมาชิกกลุ่ม โดยสมาชิกกลุ่มจะเพาะขยายพันธุ์ไม้พื้นบ้านแล้วส่งให้กองทุนกลางร้อยละ 10 จากการดำเนินงานมา 3 ปี ก่อให้เกิดกองทุนกลางเพิ่มขึ้นเป็น 35,000 บาท

ในปี พ.ศ. 2534 เปลี่ยนชื่อจาก “กลุ่มกองทุนพันธุ์ไม้พื้นบ้าน” เป็น “กลุ่มอินแปง” ซึ่งพ่อบัวศรี ศรีสูง ปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดมหาสารคามเป็นผู้ตั้งให้ เนื่องจากเห็นว่าที่บ้านบัวมีพืชพันธุ์ธัญญาหาร ผลหมากรากไม้และน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ หากแปลตามหลักพุทธศาสนา คำว่า “อิน” แปลว่า ผู้ใหญ่ คำว่า “แปง” แปลว่า สร้าง

“เราเป็นผู้ใหญ่ก็ควรสร้างสิ่งต่างๆ ไว้เพื่อลูกหลานทั้งเรื่องการพึ่งตนเอง การสร้างแนวคิด การกระทำ เพื่อให้ชีวิตมีความสุข ถ้าแปลตามภาษาท้องถิ่นก็คือ พระอินทร์ หรือ เทวดาเป็นผู้สร้างสิ่งต่างๆ ไว้ให้กับพวกเราได้อยู่ได้กิน”

ปี พ.ศ.2535 กลุ่มกองทุนพันธุ์ไม้พื้นบ้านได้นำกองทุนไปซื้อที่ดินเพื่อเป็นสถานที่ในการติคต่อ
ประสานงาน แลกเปลี่ยนภูมิปัญญา ศึกษาทดลองทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและหมู่บ้านของตนจำนวน 5 ไร่ 1 งาน และได้ทำโครงการเลี้ยงหมูพื้นบ้านเพื่อสร้างรายได้เสริมให้สมาชิกของกลุ่ม

ต่อมาในปี พ.ศ.2535-2536 กลุ่มอินแปงได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์หลัก ในการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืนในพื้นที่รอบป่าเทือกภูพาน และได้มีคนรุ่นใหม่ที่อยู่ในชุมชนเข้ามาทำหน้าที่ประสานงานให้กับกลุ่มอินแปง และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในท้องถิ่นมากขึ้น โดยเริ่มประสานงานกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนศาสตร์ชุมชนที่ 3, สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร และได้ประสานความร่วมมือกันเป็นเครือข่ายเกษตรกรรมนิเวศภูพาน โดยมีชุมชนเข้าร่วมเครือข่าย 22 คน จำนวน 289 คน โดยการส่งเสริมการเกษตรแบบยั่งยืน การศึกษาและวิจัยการขยายพันธุ์ไม้พื้นบ้านที่มีอยู่รอบเทือกเขาภูพาน และการแปรรูปพืชผักผลไม้พื้นบ้าน

ปลายปี พ.ศ. 2539 เครือข่ายอินแปงได้รับการจัดการจัดสรรกองทุนจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ภายใต้ “โครงการอนุรักษ์ป่าภูพานด้วยเครือข่ายเกษตรกรรมนิเวศ” จำนวน 500,000 บาท

ปี พ.ศ. 2541 ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม (UNDP) ให้ทุนส่งเสริมพลังงานและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในระบบเกษตรกรรมนิเวศ จำนวน 309,000 บาท

ปลายปี พ.ศ. 2542 ได้ทำการขยายเครือข่าย โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรมวิเทศสหการและ UNDP ภายใต้ “โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน” ในพื้นที่ 12 ตำบล 10 อำเภอ ในจังหวัดสกลนคร

ปี พ.ศ. 2543 ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนทางสังคม (SIF-MENU 5) หรือโครงการจัดสวัสดิการชุมชนเร่งด่วยเพื่อผู้ยากลำบาก จำนวน 15 ล้านบาท โดยแยกบริหารตามเครือข่าย

ปัจจุบันเครือข่ายอินแปงมีการขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้นทุกปี ในช่วงปี พ.ศ. 2542 มีสมาชิกในเครือข่ายในพื้นที่รอบป่าเทือกเขาภูพาน 3 จังหวัด คือ สกลนคร กาฬสินธุ์ และอุดรธานี ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร 5 อำเภอ คือ อำเภอกุดบาก อำเภอภูพาน อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอพรรณนิคมและอำเภอวาริชภูมิ ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ 1 อำเภอ คือ อำเภอคำม่วง และพื้นที่จังหวัดอุดรธานี 1 อำเภอ คือ อำเภอวังสามหมอ จำนวนสมาชิกในครอบครัว 600 ครอบครัว และยังมีการขยายเครือข่ายต่อไปเรื่อยๆ

สร้างกระบวนการเรียนรู้ สู่การปฏิบัติ

นาเล็ก ให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ สู่การปฏิบัติจริง โดยใช้วิธีการรวมกลุ่ม เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึก พร้อมขยายเครือข่ายการเรียนรู้ ดังคำกล่าวของนายเล็กที่ว่า “อยากได้ช้างป่า ก็เอาช้างไปต่อ ถ้าอยากได้คนชนิดเดียวกัน ก็ต้องเอาคนไปต่อ คนแบบเดียวกับเรามีอยู่ด้วยกันทุกชุมชน เพียงแต่เราต้องไปค้นหาเขาทั้งนั้น”

ปัจจุบันกลุ่มอินแปงอยู่ในสมาชิกเครือข่ายภูมิปัญญาไท ซึ่งถือเป็นเครือข่ายระดับชาติ มีสมาชิกเป็นเครือข่ายองค์กรชุมชนระดับอำเภอและจังหวัดอยู่ทุกภาคของประเทศ มีการเดินทางไปศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนความรู้ และในปี พ.ศ. 2541 เครือข่ายภูมิปัญญาไทได้ร่วมกันพัฒนา “แผนแม่แบบชุมชน” ขึ้นมาจากประสบการณ์ของชุมชนเพื่อเป็นกรอบและทิศทางในการพัฒนาชุมชน โดยแบ่งเป็น 7 ประเด็น คือ การเกษตร สิ่งแวดล้อม สุขภาพชุมชน อุตสาหกรรม ธุรกิจชุมชน กองทุนและสวัสดิการชุมชนและการเรียนรู้

บทบาทหลักของนายเล็ก กุดวงค์แก้ว ในขณะนี้ คือ การขยายแนวความคิดและสร้างเครือข่าย ส่วนงานภายในกลุ่มอินแปงสามารถดำเนินงานละกำหนดแนวความคิดของตนเอง รวมทั้งกลุ่มเยาวชน “เด็กกะเลิงรักป่า” ที่มีกิจกรรมหลักเพื่อให้เยาวชนได้สืบทอดแนวคิด วิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชน

นายเล็ก กุดวงค์แก้ว นับเป็นบุคคลที่สมควรได้รับการยกย่องในฐานะที่ท่านเป็น “ปราชญ์ชาวบ้าน” และเป็นผู้นำตามธรรมชาติของชุมชน ผงงานที่โดดเด่นของนายเล็กคือการเผยแพร่ความคิดในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสานกับแนวคิดทางพุทธศาสนา แนวความคิดของนายเล็กสามารถนำไปปฏิบัติและก่อให้เกิดผล อีกทั้งยังสัมพันธ์กับวิถีเศรษฐกิจของชาวบ้าน บนพื้นฐานของการใช้ชีวิตอย่างพออยู่ พอกิน คำดังกล่าวของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวกะเลิงที่ว่า

“ภูพานคือชีวิต วงลมิตรคือพลัง พึ่งตนเองคือความหวัง ธรรมชาติยังเพื่อชีวิตและชุมชน”

 

ชื่อ-นามสกุล : นายเล็ก กุดวงค์แก้ว
อายุ : 55 ปี
สถานภาพ : สมรส มีบุตร 8 คน
การศึกษา :
ประถมศึกษาปีที่ 4
บวชเป็นสามเณรอยู่ 8 ปี

ตำแหน่งหน้าที่ :

ประธานกลุ่มอินแปง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร

คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

คณะกรรมกองทุนเพื่อสังคม (ส่วนกลาง)

คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันราชภัฏสกลนคร

วิทยากรหลายหน่วยงาน เช่น กรมส่งเสริมคัณภาพสิ่งแวดล้อม
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงมหาดไทย และเป็นวิทยากรให้หน่วยงานเอกชนและองค์กรชาวบ้านหลายแห่งทั่งประเทศ
ผลงาน :

พ.ศ. 2530 – ปัจจุบัน เป็นหนึ่งในผู้นำก่อตั้งกลุ่มอินแปง ซึ่งปัจจุบันมีเครือข่ายประมาณ 600 ครอบครัว 5 อำเภอ ใน 3 จังหวัด

พ.ศ. 2542 ขยายเครือข่ายสู่พื้นที่ 12 ตำบล 10 อำเภอ ในจังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2543 ร่วมกำหนดแผนแม่บทชุมชน ร่วมกับเครือข่ายภูมิปัญญาไทเสนอโครงการจัดสวัสดิการชุมชนเร่งด่วนเพื่อผู้ยากลำบากของเครือข่าย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ 15 ล้านบาท จากองทุนทางสังคม (SIF – MENU 5)

ระยะเวลาดำเนินงาน : พ.ศ. 2530 – ปัจจุบัน
เกียรติประวัติ :

พ.ศ. 2537 รางวัลเกษตรกรดีเด่น ประเภทผู้นำชุมชน จากหน่วยงานการปฏิรูปที่ดิน จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2542 ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาศาสตรืบัณฑิต สถาบันราชภัฏสกลนคร

พ.ศ. 2542 รางวัลครูภูมิปัญญา

พ.ศ. 2543 รางวัลครอบครัวที่พัฒนาเป็นประชาธิปไตย จากสำนักงานอนุรักษ์อธิปไตย
 
คุณสมบูรณ์ ศรีสุบัติ (ลุงนิล)

คุณสมบูรณ์ ศรีสุบัติ (ลุงนิล) อายุ 58 ปี เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ สถานภาพ สมรส อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 14 หมู่ 6 บ้านทอนอม ตำบลช่องไม้แก้ว อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อาชีพหลักเดิมคือ ทำสวนทุเรียน ปัจจุบันทำเกษตรแบบ ผสมผสาน ได้แก่ ปลูกพืชคอนโด 9 ชั้น เลี้ยงปลา เลี้ยงหมู ฐานะทางเศรษฐกิจ มีเงินใช้จ่ายเกินพอ มีรายได้มากกว่า 30,000 บาทต่อเดือน มีระดับความพึงพอใจในชีวิตมาก ภรรยามีอาชีพแม่บ้านและ เกษตรกร มีบุตร 2 คน คนโตเป็นบุตรชาย คนที่สองเป็นบุตรสาว ทั้งสองคนจบการศึกษา ระดับอุดมศึกษา และปัจจุบันต่างก็ช่วยบิดามารดาทำการเกษตรแบบผสมผสาน ในอดีตบุตรชาย คนโตเคยทำงานอยู่กรุงเทพฯ และในที่สุดก็ได้กลับมาช่วยบิดาทำการเกษตรแบบผสมผสานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ส่วนลูกสาวทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของบิดามาโดยตลอด ลุงนิลได้รับการคัดเลือกเป็น เกษตรกรดีเด่นและเกษตรกรตัวอย่างบ้านทอนอม อำเภอทุ่งตะโก ของจังหวัดชุมพร อีกทั้งยังเป็น เกษตรกรตัวอย่างของประเทศ ปัจจุบันลุงนิลเป็นหัวหน้าศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของบ้าน ทอนอม เป็นผู้นำและสมาชิกของกลุ่มชุมชนต่างๆ หลายกลุ่ม

รูปแบบการเกษตรแบบผสมผสาน

ลุงนิลได้รับแนวคิดการทำเกษตรแบบผสมผสานจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ซึ่งในขณะนั้น ลุงนิลทำการเกษตรเชิงเดี่ยว ปลูกทุเรียนอย่างเดียวและเป็นหนี้สินประมาณ 2 ล้านกว่าบาทจากการกู้เงินมาซื้อปุ๋ยและใช้จ่ายในการบริหารแปลงเกษตรของตนเอง ลุงนิลกล่าว ว่าช่วงนั้นเป็นวิกฤตของชีวิต เป็นจุดพลิกผันที่ทำให้ชีวิตของตนเองมีความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่ หลวง ลุงนิลเล่าว่า

“… รู้สึกเครียดมาก คิดอยากฆ่าตัวตาย ในขณะที่กำลังใช้ปืนจ่อหัว ได้ยินพระ ราชดำรัสของพระองค์ท่านเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในโทรทัศน์ เท่านั้นเอง… น้ำตานองหน้า เลิกล้มความตั้งใจในการจบชีวิตตนเอง ก้มลงกราบกับพื้นและ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านเป็นล้นพ้น

ณ วินาทีที่ลุงนิลได้ยินพระราชดำรัสของพระองค์ท่านเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เป็น การจุดประกายแห่งความหวัง ทำให้คนที่มืดมนในความคิด มองไปทางไหนก็ไม่พบทางออก ได้มองเห็นแสงสว่างจนมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในชีวิต ตอนนั้น ลุงนิลกลัมมามีสติและคิดว่าหาก ตนตายไปแล้วลูกและครอบครัวจะอยู่อย่างไร คิดได้ดังนั้น จึงได้ยุติความคิดในการจบชีวิตตนเอง และมุ่งมั่นที่จะเดินไปข้างหน้าด้วยหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง จึงเริ่มทำการเกษตรแบบ ผสมผสาน ดำเนินรอยตามพ่อของแผ่นดินตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


บนพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 17 ไร่ ลุงนิลทำเกษตรแบบผสมผสานโดยการเลี้ยงปลา เลี้ยงหมู และปลูกพืชคอนโด 9 ชั้นซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. ในน้ำ ปลูกบัว

2. ชั้นใต้ดิน ปลูกพืชหัว เช่น กระชาย กลอย มันหอม

3. บนดิน ปลูกผักเหลียง พริกขี้หนู กระเพรา ตะไคร้

4. ปลูกส้มจี๊ดประมาณ 1,000 ต้น เก็บได้ประมาณ 70 กิโลกรัมต่อวัน ขายได้ราคา ประมาณกิโลกรัมละ 20-60 บาท แล้วแต่ฤดูกาล บางครั้งมีรายได้จากการขายส้มจี๊ดประมาณ 2,000 บาทต่อวัน

5. ปลูกกล้วยเล็บมือนางประมาณ 1,000 กอ เก็บเป็นรายได้ต่อสัปดาห์ ขายได้ประมาณ 5,000 บาท/สัปดาห์

6. ปลูกทุเรียนหมอนทองประมาณ 700 ต้น เก็บตามฤดูกาล ปีละครั้ง รายได้ขึ้นอยู่กับ ราคาตามท้องตลาด

7. ปลูกพริกไทยซึ่งเป็นพืชเกาะเกี่ยว กระท้อน ขนุน ซึ่งมีการเก็บผลผลิตหมุนเวียนไปทั้ง ปี รวมรายได้ประมาณ 300,000 บาทต่อปี

8. ปลูกไม้ยืนต้นประมาณ 1,300 ต้น ซึ่งเพิ่งจะปลูกได้ 1 ปี มีต้นมะฮอกกานี ต้นตะเคียนทอง ต้นจำปาทอง เป็นต้น ซึ่งไม้เศรษฐกิจเหล่านี้ หากมีอายุครบ 20 ปีจะมีมูลค่า ประมาณ 100,000 บาทต่อต้น ซึ่งต้นไม้เหล่านี้ลุงนิลกล่าวว่าตนปลูกไว้ให้เทวดาเลี้ยงหมายความว่า ปลูกไว้แล้วต้นไม้จะโตเองโดยธรรมชาติ

9. ปลูกต้นไม้ยางนาเพื่อถวายในหลวงเป็นพิเศษ ต้นสูงเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 40-50 เมตร

 

ในสวนของลุงนิลไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นเวลานานนับตั้งแต่เริ่มต้นทำเกษตรแบบ ผสมผสานและได้รับแนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งลุงนิลเล่าว่า “…ในสวนนี้ไม่มีสารเคมี ไม่มีปุ๋ยแม้แต่เม็ดเดียวเลยมา 12 ปีแล้ว และยาฆ่า หญ้าก็ไม่มีครับ…” การไม่ใช้ปุ๋ยและสารเคมีใดๆ ในสวนมาเป็นเวลานาน กลับพบว่า สภาพดินยิ่งมีความอุดม สมบูรณ์มากกว่าในอดีตที่เคยใช้ปุ๋ยเคมี เพราะการใช้ปุ๋ยเคมีอาจทำให้ได้ผลผลิตมากเป็นที่น่าพอใจ

ในแปลงเกษตรของลุงนิล มีการเลี้ยงปลา เลี้ยงหมู และเลี้ยงไก่ มูลหมูสามารถนำมาใช้ เป็นอาหารปลาได้ ส่วนมูลหมูและมูลไก่ใช้ทำเป็นปุ๋ยให้กับพืชผักสวนครัวต่างๆ ที่ลุงนิลปลูกไว้ มีการขุดสระน้ำเพื่อเป็นแหล่งน้ำไว้ใช้ในการเกษตร แต่ไม่มีการทำนาเนื่องจากสภาพพื้นที่และ แรงงานที่ไม่เอื้ออำนวย



หลักคิดและแนวทางในการดำเนินชีวิต

สำหรับแนวคิดในการดำเนินชีวิตของลุงนิล นอกจากที่ได้รับมาจากการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ และความรู้ที่ได้เรียนมาจากโรงเรียนและจากการดำเนินชีวิตแล้ว ยังมีหลักคิดและแนวทางใน การดำเนินชีวิตที่สำคัญที่ลุงนิลยึดถือและทำให้ชีวิตของลุงนิลเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมากๆ และเป็นแนวทางที่จะยึดถือปฏิบัติจวบจนชีวิตจะหาไม่ คือ แนวทางในการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจ พอเพียง ลุงนิลมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ตื่นเช้ามาประมาณ 6 โมง เข้าสวนเดินดูต้นไม้และชมสวนไป เรื่อยๆ ให้อาหารหมู อาหารปลา เก็บผักในสวนมาประกอบอาหาร มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ หาก ไม่มีงานที่ต้องเดินทางไปสัมมนาหรือเป็นวิทยากรในสถานที่ต่างๆ เวลาทั้งหมดของลุงนิจจะใช้ไป กับการอยู่ในสวน ซึ่งเป็นทั้งบ้านและศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน ในช่วงที่ลุงนิลไม่ติดภารกิจ ต่างจังหวัด ลุงนิลใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการรับแขกจากชุมชนอื่นๆ ที่เป็นเครือข่ายเศรษฐกิจ พอเพียง เครือข่ายธนาคารต้นไม้ หรือเครือข่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เพื่อมาเยี่ยมชม สถานที่และเรียนรู้จากศูนย์การเรียนรู้ของลุงนิล นอกเหนือจากการให้ความรู้กับชุมชนแล้ว บ้านและ สวนของลุงนิลยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ของนักเรียนและเยาวชนอีกด้วยเนื่องจากมีโรงเรียนหลาย โรงเรียนในจังหวัดชุมพรและจังหวัดอื่นๆ ที่จัดโครงการเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงมาศึกษาที่ สวนลุงนิลอยู่เสมอ โดยที่มีลุงนิล หรือลูกสาว หรือลูกชายเป็นวิทยากร ลุงนิลกล่าวว่าตนรู้สึกมี ความสุขและพอใจกับวิถีชีวิตที่เป็นอยู่มาก และคิดว่าทุกวันนี้มีครบทุกอย่างและรู้สึกเพียงพอแล้ว โดยที่ลุงนิลมีการดำเนินวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคล ซึ่งลุงนิลได้กล่าวว่า

“… ทุกวันนี้ ก็มีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ตื่นเช้ามาก็เข้าสวนเดินดูต้นไม้และชมสวน ไปเรื่อยๆ ให้อาหารหมู อาหารปลา อยู่อย่างง่ายๆ อย่างที่เห็น มีความสุขมาก ครับ รู้สึกมีความสุขและพอใจกับวิถีชีวิตที่เป็นอยู่มากๆ เลยครับ คิดว่าทุกวันนี้ มีครบทุกอย่างแล้ว เพียงพอแล้ว …”

ลุงนิลคิดว่าตนเป็นคนไทยและมีวิถีไทยที่แบ่งปัน ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ และวันนี้ลุงนิลมี ความรู้สึกดีใจที่สามารถเป็นผู้ให้บ้างเพราะเชื่อว่าการให้นั้น ยิ่งให้ไปยิ่งได้มา พระองค์ท่านว่าอย่าง นั้นและลุงนิลก็เชื่อตามนั้น การให้ความสุข ความรัก และความจริงใจกับผู้อื่น จะทำให้ได้ความสุข ดังนั้น สำหรับการได้เป็นผู้ให้ ยิ่งให้ไปยิ่งได้มา ยังคงเป็นสัจธรรมอยู่เสมอ

ลุงนิลกล่าวว่า หลังจากที่ได้มาอยู่ในเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว รู้สึกมีความสุขและสบายใจ สำหรับเรื่องส่วนตัวไม่ค่อยได้อาศัยการพึ่งพาผู้อื่นมากนัก แต่คิดว่ายังต้องพึ่งพาผู้อื่นในกรณีที่ต้อง อยู่ร่วมกันในชุมชนและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ต้องพึ่งพา อาศัยสมาชิกในหมู่บ้าน ช่วยกันทำเศรษฐกิจพอเพียง ตอนนี้ลุงนิลมีเป้าหมายอยากทำเศรษฐกิจ พอเพียงถวายให้กับในหลวง เป็นอุดมการณ์ของตนที่ตั้งใจจะทำต่อไปตราบจนชีวิตจะหาไม่ การมีวิถีชีวิตอย่างพอเพียงในความเข้าใจของลุงนิล หมายถึง 3 พอ คือ พอกิน พออยู่ และ พอใช้ ซึ่งลุงนิลกล่าวว่าปัจจุบันตนเองมีครบทั้ง 3 พอและคิดว่ามีความสุขแล้ว ลุงนิลเล่าให้ฟังว่า “… การพออยู่คือมีบ้านที่พออยู่ไงครับ อย่างที่เห็นๆ เนี่ย ถึงไม่ล้านแต่ก็ เป็นบ้านของเราไงครับ เอ้อ! เมื่อคืนวานเคยนอนหลัง 10 ล้านแต่ไม่ใช่บ้านเรา เมื่อคืนนอนหลังที่ไม่ถึงล้านแต่ก็เป็นบ้านของเรา ลุงนิลมีความสุขกับบ้านที่ไม่ ถึงล้านหลังนี้แหละครับ มันเป็นความสุขเพราะมันพออยู่ในหัวใจ …”

สำหรับเป้าหมายในชีวิตของลุงนิล คือ

“… เป้าหมายในชีวิตคือ การอยู่แบบคนที่มีคุณค่า และมีความพอเพียง กับชีวิต …” นี่คือนิยามความพอเพียงของลุงนิล เกษตรกรแบบผสมผสานแห่งบ้านทอนอมผู้มีรอยยิ้ม เปื้อนใบหน้าและดวงตามีแววแห่งความหวังอยู่เสมอ แสดงให้เห็นถึงความสุขทั้งกายและใจที่แท้จริง บนฐานของความพอเพียง



การเชื่อมโยงทางสังคม

จากความคิดที่อยากแบ่งปันความสุขให้กับคนทุกคนที่รักและคนทุกคนที่รู้จัก ลุงนิลจึงได้ สร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงขึ้น โดยใช้บ้านและสวนของตนเองเป็นสถานที่ในการสร้าง ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งศูนย์การเรียนรู้ของลุงนิลเป็นศูนย์ฯ ที่มีความเป็นพลวัตมาก ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากเป็นศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงที่เกือบครบ วงจรเช่นเดียวกับศูนย์การเรียนรู้ของกำนันเคว็ทในตำบลวังตะกอ ส่วนของลุงนิลเป็นศูนย์การเรียนรู้ บ้านทอนอม ตำบลช่องไม้แก้ว เป็นศูนย์ที่เปิดต้อนรับคนทุกคนที่มีความสนใจในการเรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง มีนักเรียน เยาวชน และหน่วยงานต่างๆ มาเรียนรู้ที่ศูนย์อย่างไม่ขาดสาย เนื่องจากลุงนิลได้รับเลือกให้เป็นเกษตรกรตัวอย่าง อีกทั้งเรื่องราวของลุงนิลได้รับการเผยแพร่ทาง สถานีโทรทัศน์ ลุงนิลและศูนย์การเรียนรู้ของลุงนิลจึงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในแวดวงเกษตรกร ของประเทศไทย ลุงนิลมีความคิดเกี่ยวกับการแบ่งปันหรือการให้ว่า

“… ก็ไม่รู้นะ แต่ในความรู้สึก เราก็เป็นคนไทยนะครับ เรามีวิถีไทยที่แบ่งปัน ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ ผมเองก็เป็นผู้ให้ ยิ่งให้ยิ่งได้มา พระองค์ท่านว่าอย่างนั้น และ ก็ได้จริงๆ …” และยังได้กล่าวอีกว่า

“… ลุงนิลดีใจมากที่มีโอกาสมายืนอยู่ตรงนี้และแบ่งปันบอกคนอื่นๆ ให้ เค้ามาอยู่ ซึ่งลุงนิลจะพูดจะบอกจนขาดใจเลย บอกว่าชีวิตที่จริงๆ เราต้องการ อะไรนะ เกิดมาทำไม และเมื่อมาอยู่ในเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว เราได้ครบ เราได้ ครบหมดเลย …”

สำหรับบทบาทและหน้าที่ในชุมชน ลุงนิลเป็นแกนนำและมีส่วนร่วมหลายอย่างในหมู่บ้าน เช่น เป็นประธานกลุ่มผักพื้นบ้านปลอดสารพิษ มีหน้าที่ในการแจกจ่ายงานให้สมาชิกรุ่นน้องในกลุ่ม เป็นผู้ปลูกผักประเภทเครื่องแกง แล้วลุงนิลเป็นคนรับไปส่งโรงงาน เป็นการช่วยให้สมาชิกในหมู่บ้าน และตนเองมีรายได้มากขึ้น มีวิถีที่แบ่งปันและเอื้ออาทรต่อกัน และที่มากกว่านั้นก็มีการทำโครงการ เครือข่าย “จากภูผาสู่มหานที” ซึ่งเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมกันหมดทั้งจังหวัด ชุมพร ลุงนิลเป็นผู้ประสานงานกับทุกฝ่าย เช่น ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องธนาคารต้นไม้ และ เครือข่ายโฮมสเตย์ ซึ่งในจังหวัดชุมพรมีทั้งหมด 4 เครือข่าย คือ โฮมสเตย์ของลุงนิลที่บ้านทอนอม ของคุณพงศาที่ต้นน้ำพะโต๊ะ ของผู้ใหญ่หรั่งที่เกาะพิทักษ์ และของชุมพรคาบาน่าที่อำเภอปะทิว

ลุงนิลมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนอยู่เสมอ เช่น เป็นผู้จัดการธนาคารต้นไม้

ทำโครงการสำนึกรักบ้านเกิด เพื่อชักชวนเยาวชนให้กลับมาอยู่และพัฒนาบ้านเกิด เปิดบ้านและ สวนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง แบ่งปันและให้ความรู้กับบุคคลที่สนใจเกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียงทั่วไป ตอนนี้ลุงนิลทำเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่กับธนาคารต้นไม้ ลุงนิลกล่าวว่า

“… อยากให้ทุกๆ คนได้ปลูกต้นไม้ไว้เยอะๆ จะได้ร่มเงาได้ใช้สอย ทำให้โลกนี้ ร่มเย็น ช่วยลดภาวะโลกร้อน … การปลูกต้นไม้ยังเป็นการคืนชีวิตให้แผ่นดิน เอาอย่างงี้ ถ้าได้ปลูกต้นไม้ เคยเห็นหลังคาโบสถ์มั๊ย ขนาดหลังคาโบสถ์มันยัง งอกได้ เชื่อเถอะ ไม่มีอะไร ตรงไหนที่คนทำไม่ได้ ถ้าเราจะทำนะ …”



การเข้าสู่อาชีพ

ลุงนิลมาจากครอบครัวเกษตรกร มีความคุ้นเคยกับการทำสวนมาตั้งแต่เล็ก โดยก่อนที่จะ มาทำเกษตรแบบผสมผสาน เคยทำสวนทุเรียน ดังนั้น อาชีพเพียงหนึ่งเดียวของลุงนิลตั้งแต่เริ่ม ประกอบอาชีพคือ การทำเกษตร โดยลุงนิลได้รับความรู้หรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำเกษตรมาจาก บรรพบุรุษและมีชีวิตที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติและการเกษตร ลุงนิลเล่าว่า

“… อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษเรา เราก็สืบทอดอาชีพ กันมาเรื่อยๆ …”

หลังจากที่ได้ยินพระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ลุงนิลจึงเริ่มทำการเกษตรแบบ ผสมผสานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ซึ่งแรงบันดาลใจอย่างเปี่ยมล้นได้มาจากพระราชดำรัสของพระองค์ ท่าน ตั้งแต่วันนั้น ก็ได้ล้มเลิกความตั้งใจในการจบชีวิตของตนเอง ตั้งใจทำมาหากิน และใช้หนี้สินจน หมดภายใน 7 ปี

ลุงนิลเป็นบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเยี่ยม ชอบพบปะสังสรรค์กับผู้อื่น มีบุคลิกภาพที่ยิ้ม แย้มแจ่มใสและชอบพูดคุยกับผู้อื่น มีความสามารถในการเป็นวิทยากรอย่างดีเยี่ยม มีความเสียสละ และมีความเป็นผู้นำซึ่งเป็นบุคลิกที่เหมาะสมกับอาชีพของลุงนิล ดังนั้นลุงนิลจึงมีความสุขกับอาชีพ ของตนและมีความสนใจในการพัฒนาอาชีพของตนเองไปเรื่อยๆ



การพัฒนาอาชีพ

สำหรับการพัฒนาทักษะเฉพาะตัวและอาชีพ ลุงนิลเล่าว่า

“ก็ทำไปเรื่อยๆ ก็ลองผิดลองถูก … อย่างในสวนเรา อย่างแปลงผักเรา หรือ ว่าปุ๋ยอะไรทุกอย่างเราพยายามเรียนรู้เพิ่มเติมนะครับ …”

ลุงนิลเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ พยายามพัฒนาอาชีพของตนเองไป เรื่อยๆ เช่น การทำสวนและการปลูกผัก หรือเรื่องปุ๋ย เป็นต้น จะพยายามเรียนรู้เพิ่มเติม หากลอง แล้วใช้ไม่ได้ผลก็พยายามพัฒนาขึ้นใหม่ ถ้าใช้ได้ดีจะบอกคนอื่นต่อ เช่น ปุ๋ยสูตรของสวนลุงนิล มี การทดลองนำรกหมูมาหมักจุลินทรีย์ นำไปผสมน้ำ แล้วเอาไปฉีดพ่นในสวน มีทุเรียนอยู่ 20 กว่าต้น ที่ไม่ออกผล หลังจากฉีดแล้วใบเริ่มสวยขึ้น ออกดอกดกมาก นั่นแสดงว่าปุ๋ยตัวนี้เปิดตาดอกได้โดย ไม่ใช้สารเคมีเลย แต่บังเอิญฝนตกหนักมากทำให้ดอกร่วงไปเยอะ เหลือแค่ตันกว่าซึ่งเป็นรอบที่ 2 ของปี รอบแรกที่เป็นทุเรียนธรรมชาติ ตัดได้ 21 ตัน พอนอกฤดู ในขณะที่คนอื่นทำทุเรียนทวาย (ทุเรียนนอกฤดูกาล) ซึ่งต้องใช้ทุนในการซื้อยาและซื้อปุ๋ยเยอะมาก แต่ลุงนิลไม่ได้ทำเพียงแต่เอารก หมูที่หมักไว้มาฉีดพ่น ดอกก็ออก ทั้งสวนบนพื้นที่ 17 ไร่มีทุเรียน 700 กว่าต้น ซึ่งในสมัยก่อนลุงนิล ปลูกพืชเชิงเดี่ยวคือทุเรียนอย่างเดียว แต่มา ณ วันนี้ไม่ใช่สวนทุเรียนเพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่เป็น สวนที่ปลูกพืชคอนโด 9 ชั้นเต็มหมดทั้งพื้นที่ ทำเกษตรแบบผสมผสานเต็มรูปแบบ

มีการนำผลไม้ที่มีอยู่ในสวนมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น นำทุเรียนมากวนหรือทอดขาย นำสมุนไพรที่ปลูกในสวนมาผลิตเครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งได้สูตรมาจากบรรพบุรุษ ดื่มได้เป็นยาบำรุง กำลังและแก้โรคได้หลายอย่าง ใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงและหาสิ่งใหม่ๆ ทำอยู่เสมอ มีการลองผิด ลองถูกไปเรื่อยๆ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ มีการไปอบรมหาความรู้ใหม่ๆ มาพัฒนาอาชีพของตนเองอยู่ เสมอ สำหรับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดนั้น ลุงนิลได้มีการทำปุ๋ยหมัก จากทรัพยากรธรรมชาติ ดังนี้

“ทุกอย่างที่มีอยู่สามารถใช้ได้ทั้งนั้น เช่น เศษใบไม้ต่างๆ เราสามารถกวาดมา รวมกันและเทจุลินทรีย์ลงไปเพื่อใช้ทำปุ๋ยหมักได้ ง่ายๆ แค่นี้เองแต่ได้ผลดีนัก”

การพัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข มีการเรียนรู้อย่างค่อย เป็นค่อยไปโดยธรรมชาติและเริ่มลองผิดลองถูก การอยู่ร่วมกับคนมากๆ ทำให้ได้บทเรียน บางที ย่อมมีปัญหาบ้างกับคนบางคนในเรื่องการสื่อสาร ลุงนิลจะเก็บมาวิเคราะห์พร้อมทั้งพยายาม ปรับปรุงตัวเองและทำความเข้าใจกับเพื่อนให้ได้ ลุงนิลคิดว่าตนเป็นคนโชคดีที่น้องๆ ในหมู่บ้านรัก และให้ความไว้วางใจ รู้สึกว่าคุยกันรู้เรื่อง ลุงนิลได้รับคัดเลือกให้เป็นประธานกลุ่มต่างๆ ในชุมชน ส่วนตัวแล้วตนรู้สึกดีใจและรู้สึกขอบคุณชุมพรคาบาน่าเป็นอย่างมากที่ให้โอกาสตนในการได้เข้าไป ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทุกวันนี้ยังมีการไปศึกษาอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ตลอดเวลา มีการประสานงานกับเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดอื่นๆ ด้วย เช่น จังหวัดใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้

สำหรับการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์นั้น ลุงนิลใช้ทุกอย่างที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์สูงสุด เช่น เศษใบไม้ต่างๆ นำมารวมกันและเทจุลินทรีย์เพื่อใช้ทำปุ๋ยหมัก ใช้กิ่งไม้เศษไม้มาทำถ่านจาก เตาอิวาเตะซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการใช้สอย มีการสาธิตวิธีการเผาถ่านจากเตาอิวาเตะให้แก่ผู้ที่ สนใจเรียนรู้ ส่วนน้ำมีการใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดโดยกักเก็บน้ำไว้ใช้ มีบ่อเลี้ยงปลาซึ่งเลี้ยง ปลาไว้หลายชนิด สามารถใช้น้ำรดต้นไม้ในสวนได้หากฝนไม่ตก ปรับปรุงดินโดยการห่มดิน ปลูก พืชผักสวนครัวและไม้ยืนต้นเต็มพื้นที่โดยไม่ปล่อยไว้ให้ว่างโดยเปล่าประโยชน์ ส่วนในด้าน เทคโนโลยี ลุงนิลไม่ค่อยได้ใช้เทคโนโลยีมากนัก ส่วนลูกชายใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเก็บข้อมูลและใช้ งานต่างๆ นอกจากนั้น มีการใช้เครื่องสูบน้ำและต่อท่อน้ำทำสปริงเกิลเพื่อรดน้ำต้นไม้ เป็นต้น

สำหรับการพัฒนาอาชีพ ลุงนิลมีความกระตือรือล้นในการพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่องโดย เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพโดยการไปเข้าร่วมรับการอบรม การสัมมนาในสถานที่ ต่างๆ เป็นประจำ แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่นอยู่เสมอ ทำให้รู้สึกพึงพอใจกับอาชีพของตนเองอย่าง มากเนื่องจากอาชีพในปัจจุบันสามารถตองสนองความต้องการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจได้เป็น อย่างดี


อุปสรรคและความสำเร็จ

กว่าจะพบกับความสำเร็จในวันนี้ ลุงนิลเริ่มต้นด้วยความคิดที่อยากจบชีวิตของตนเองแต่ มันเป็นวิกฤตที่กลายเป็นโอกาสสำหรับลุงนิลในการได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ ภายหลังจากที่ได้ดำเนินรอย ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ลุงนิลเล่าว่า

“…บางครั้งรู้สึกเหนื่อยแต่พอหันไปเห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ท่านที่ มีพระเสโทหยดลงมาที่ปลายจมูก ก็ถามตัวเองว่า เราเหนื่อยจนถึงขนาดนั้นหรือ ยัง ก็ตอบว่า ยังเลย ท่านยังเหนื่อยกว่าเราร้อยเท่าพันเท่า ผมทนได้ครับ ทนได้ จริงๆ ถึงเหนื่อย ถึงท้อ ก็ยังไม่ถอยครับ สู้ต่อ ฮ่าๆๆๆ” บางครั้งลุงนิลมีความรู้สึกท้อบ้างเวลาที่ไปชวนใครหรืออธิบายเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง แล้วผู้อื่นไม่เข้าใจ รู้สึกเหนื่อยมากที่ต้องพูดกับคนเป็นจำนวนมากแล้วเขาไม่เข้าใจ

ส่วนเรื่องของรายได้

กิจกรรมการเกษตรทุกอย่างในแปลงเกษตรของลุงนิล นอกจากจะใช้ ในการบริโภคแล้ว ยังสามารถขายได้เป็นจำนวนมาก สร้างรายได้ให้กับลุงนิลอย่างพอเพียง ทำให้ลุง นิลรู้สึกพอใจกับฐานะทางเศรษฐกิจในปัจจุบันของตนเป็นอย่างมาก ลุงนิลกล่าวถึงความหมายของ เศรษฐกิจพอเพียงว่า

“แบบลุงนิลก็ คำว่า พอเพียงของพระองค์ท่านก็ให้อยู่ใน 3 พอ หมายถึงว่า พอ กิน พออยู่ และก็ พอใช้ ก็โชคดีที่ลุงนิลก็ทำได้นะครับ อย่างหนึ่ง หลุดหนี้ ปลด หนี้สินที่มากมาย หลุดได้…” และ

“พอใจมากครับ รู้สึกภูมิใจเพราะจากคนที่เป็นหนี้ตั้ง 2 ล้านกว่าบาท สำหรับคน ที่นั่งมัดกระเพราขาย 7 กำ 5 บาทอย่างนี้ คิดดูว่าหนี้สิน 2 ล้านกว่าบาทมัน มากขนาดไหน มันมากจนมืดฟ้ามัวดินเลย เครียดจนถึงขั้นเอาปืนจ่อหัวเพื่อคิด จบชีวิตตัวเองเพราะไม่รู้จะปลดหนี้อย่างไรนั้น วันนี้ ได้พบทางรอดแล้ว สามารถปลดหนี้ได้หมดในเวลา 7 ปี หลังจากได้เริ่มทำเศรษฐกิจพอเพียง และมี ความสุขกับชีวิตเพราะได้พบทางสว่างจากพระราชดำรัสของพระองค์ท่าน รู้สึก ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านเป็นล้นพ้นครับ และทุกวันนี้ก็มี รายได้ที่พอเพียง พออยู่ พอกิน พอใช้ พอเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้อย่างมี ความสุขครับ”

จากคนที่เป็นหนี้ 2 ล้านกว่าบาทจนถึงขั้นเอาปืนจ่อหัวเพื่อคิดจบชีวิตตนเองเพราะไม่รู้จะ ปลดหนี้อย่างไรนั้น วันนี้ ได้พบหนทางรอดสามารถปลดหนี้ได้หมดและมีความสุขกับชีวิตเพราะได้ พบทางสว่างจากพระราชดำรัสของพระองค์ท่าน ลุงนิลรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของ พระองค์ท่านเป็นล้นพ้น และทุกวันนี้ก็มีรายได้ที่พอเพียง พออยู่ พอกิน พอใช้ พอเลี้ยงตัวเองและ ครอบครัวได้อย่างมีความสุข ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิต คือความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และพระบารมีของ พระองค์ท่าน ความมีน้ำใจ รู้จักแบ่งปันและความอดทน รวมทั้งการได้รับกำลังใจและการสนับสนุน จากภรรยาและครอบครัว


แหล่งอ้างอิง
http://pttinternet.pttplc.com/greenglobe/2543/personal-03.html
https://phanom888.wordpress.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้