Last updated: 1 มิ.ย. 2565 | 4763 จำนวนผู้เข้าชม |
“….ให้หาพื้นที่ปลูกสตรอว์เบอร์รีให้แก่ชุมชนบ้านช่างเคี่ยน เนื่องจากทรงสนพระทัยงานของฟาร์มฟูซูซานของหน่วยทหารผ่านศึกของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เพราะเป็นพื้นที่ที่ตั้งบนภูเขาแบบเดียวกับพื้นที่โครงการหลวง โดยขณะนั้นได้พื้นที่ป่าสะเมิง (บ้านป่าเลา) ปัจจุบันเป็นพื้นที่ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเรา...”
พระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ประวัติความเป็นมา
ลักษณะของพื้นที่เดิม อันเป็นที่ราบหุบเขา และภูเขาสูงชันอันเป็นถิ่นอาศัยและทำกินของชาวเขาเผ่าม้งซึ่งมีฐานะยากจน ที่ประกอบอาชีพการเกษตรด้วยการทำไร่ฝิ่น ไร่เลื่อนลอยซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการทำลายป่าไม้และแหล่งต้นน้ำลำธาร
สืบเนื่องจากปีพ.ศ. 2512 ได้มีการส่งเสริมการปลูกสตรอว์เบอร์รีให้กับชุมชนช่างเคี่ยน โดยพื้นที่ทำการส่งเสริมสตรอว์เบอร์รีในช ่วงเวลานั้น เกษตรกรไม่มีพื้นที่เป็นของตนเอง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานพระราชดำริให้หาพื้นที่ปลูกสตรอว์เบอร์รีให้แก่ชุมชน บ้านช่างเคี่ยน โดยขณะนั้นได้พื้นที่ป่าสะเมิง (บ้านป่าเลา) ปัจจุบันเป็นพื้นที่ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเรา และได้จัดแบ่งให้เกษตรกรจากชุมชนช่างเคี่ยนและชาวบ้านบวกจั่นที่ทำการผลิตอยู่เดิมได้ทำการปลูกสตรอว์เบอร์รีและ พ.ศ. 2519 ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ และขณะนั้นได้มีราษฎรจากบ้านแม่ขนิลถวายฎีกาขอให้การสนับสนุนการทำมาหากินในพื้นที่ใกล้เคียง (ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริงในปัจจุบัน) และในปีเดียวกันโครงการหลวงร่วมกับกรมพัฒนาที่ดินและกรมชลประทานเริ่มดำเนินการบุกเบิกพื้นที่จัดสรรพื้นที่ทำกินให้แก่ราษฎรจัดหาแหล่งน้ำ พร้อมกับจัดทำระบบชลประทานเพื่อการเกษตรอุปโภคและบริโภค
พ.ศ. 2513 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนีเสด็จไปยังสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนีทรงสนพระทัยงานของฟาร์มฟูซูซานที่สังกัดหน่วยงานทหารผ่านศึกเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่บนภูเขาซึ่งมีสภาพพื้นที่แบบเดียวกับพื้นที่ของโครงการหลวงประกอบกับฟาร์มฟูซูซานเป็นหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้ผลเขตหนาวชนิดต่างๆต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2513 คณะกรรมการส่งเสริมอาชีพทหารผ่านศึกได้จัดส่งนายซุงซิงหยุน รองผู้จัดการฟาร์มฟูซูซาน เดินทางมาประเทศไทยเพื่อศึกษาพื้นที่โครงการหลวง เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่คณะกรรมการส่งเสริมอาชีพทหารผ่านศึกไต้หวันได้ให้การสนับสนุนงานโครงการหลวง หลังจากนั้นคณะกรรมการส่งเสริมอาชีพทหารผ่านศึกไต้หวันได้ส่งพันธุ์พืชเขตหนาวชนิดต่างๆ ได้แก่ สาลี่ ท้อ บ๊วย พลัม พลับวอลนัท เห็ดหอม เห็ดหูหนูตังกุย เก๊กฮวย ดอกไม้จีน ไม้โตเร็ว และเมล็ดพันธุ์ผักชนิดต่างๆ พร้อมทั้งส่งผู้เชี่ยวชาญเดินทางมาปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการหลวง จำนวน 2-3 นาย อย่างต่อเนื่องทุกปีรวมถึงสนับสนุนให้คณะอาจารย์อาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่โครงการหลวง เดินทางไปศึกษาดูงานและฝึกงานที่ฟาร์มฟูซูซาน และสถานีบนภูเขาขององค์การทหารผ่านศึกเป็นประจำทุกปีต่อมาในปีพ.ศ. 2523 ได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาหมู่บ้านและการพัฒนาอาชีพด้านต่างๆในพื้นที่อำเภอสะเมิงจังหวัดเชียงใหม่ได้แก่ ทุ่งเริง ทุ่งเรา ห้วยเสี้ยวและห้วยผักไผ่ เรียกชื่อว่าโครงการไทย-จีน พ.ศ. 2538 รัฐบาลไต้หวันได้เปลี่ยนหน่วยงานรับผิดชอบหลักจากคณะกรรมการส่งเสริมอาชีพทหารผ่านศึกไต้หวันเป็นกองทุนเพื่อการพัฒนาและความร่วมมือระหว่างประเทศ(International Cooperationand Development Fund : ICDF) แต่ทางคณะกรรมการส่งเสริมอาชีพทหารผ่านศึกไต้หวันยังให้ความร่วมมือในการอบรมและการศึกษาดูงานแก่มูลนิธิโครงการหลวงจนถึงปัจจุบัน รวมถึงมีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติจุงชิงด้วย
ปี พ.ศ. 2524 กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดส่งเจ้าหน้าที่และปัจจัยการผลิต เข้ามาส่งเสริมด้านการเกษตรร่วมกับโครงการเกษตรที่สูง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ซึ่งประสานงานและให้ความรู้ทางด้านวิชาการศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเราดำเนินการส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรครอบคลุมพื้นที่ 2,944 ไร่จำนวนหมู่บ้านบริวาร 2 หมู่บ้าน 1 หย่อมบ้าน คือ บ้านบวกจั่น บ้านบวกเต๋ยและหย่อมบ้านป่าเลา รวม 375 ครอบครัว
การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเราในระยะเริ่มแรก ที่สำคัญที่สุดคือความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่าง อาสาสมัคร อาจารย์ นักวิชาการสาขาต่างๆ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานส่วนกลางและในภาคสนาม รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่ร่วมปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน ตั้งแต่งานทดลองค้นคว้าในเรื่องต่างๆ ที่มุ่งสนองความต้องการของตลาดเป็นสำคัญ และผลงานวิจัยเหล่านั้นจะนำไปถ่ายทอดไปสู่เจ้าหน้าที่สนามในพื้นที่ รวมไปถึงเกษตรกรอย่างฉับพลัน ดังนั้นการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเรา จึงยึดเป็นหลักการปฏิบัติงานมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบันโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
ช่วยชาวเขาเพื่อมนุษยธรรม
ช่วยชาวไทยโดยลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติคือป่าไม้และต้นน้ำลำธาร
กำจัดการปลูกฝิ่น
รักษาดินและใช้พื้นที่ให้ถูกต้องคือให้ป่าอยู่ในส่วนที่เป็นป่าและทำไร่ทำสวนในส่วนที่ควรเพาะปลูกอย่าให้ส่วนทั้งสองนี้รุกล้ำซึ่งกันและกัน ต่อมามูลนิธิโครงการหลวงได้เพิ่มเป้าหมายอีกข้อหนึ่งคือ ผลิตพืชเพื่อเพิ่มประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ประเทศ
เป้าหมายของมูลนิธิโครงการหลวงในข้อหลังนี้ได้นำไปสู่การพัฒนามาตรฐานทั้งในด้านกระบวนการผลิตและกระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผล (Post-harvest) ซึ่งรวมไปถึงการคัดบรรจุเพื่อให้ได้ผลิตผลที่มีมาตรฐานศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเราจึงได้พัฒนาการปลูกผักตามมาตรฐานการปลูกผักในระบบการจัดการคุณภาพพืชหรือ GAP (Good Agricultural Practice) ซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัยในห่วงโซ่อาหารตั้งแต่ในระดับไร่นาจนถึงมือผู้บริโภค ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและต้องอาศัยการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตผล
การดำเนินงานด้านการส่งเสริม/การวิจัย
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเรา มุ่งพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรในการเพาะปลูกพืชผักภายใต้ระบบมาตรฐานอาหารปลอดภัย ได้แก่ ระบบมาตรฐานการเพาะปลูกพืชที่ดี(GAP) และส่งเสริมการปลูกไม้ดอกและไม้ผลสร้างรายได้ที่มั่นคง และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแก่เกษตรกร มีจำนวนเกษตรกรที่เป็นสมาชิก จำนวน 86 ราย นอกจากนี้ยังส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการปลูกป่าชาวบ้านตามแนวพระราชดำริป่า 3 อย่าง ประโยชน์4 อย่างการปลูกหญ้าแฝกเพื่อลดการพังทลายของดิน และพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเข้มแข็งของคนและชุมชน โครงการหมู่บ้านปลอดยาเสพติด การพัฒนาสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชนชาวเขา รวมไปถึงการรวมกลุ่มจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรและกิจกรรมกลุ่มออมทรัพย์ตลอดจนเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรที่สูงแก่นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป
ลักษณะทั่วไปของพื้นที่
ที่ตั้ง : บ้านบวกจั่น หมู่ที่ 7 ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ภูมิประเทศ : ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบหุบเขาและที่สูงหุบเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 700 - 1,300 เมตร
การใช้ประโยชน์ที่ดิน : ประกอบด้วย พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 4,882 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 59 (ทั้งนี้จากการเทียบเคียงภาพถ่ายอากาศปี 2557 และ ปี 2562 พบว่าพื้นที่ป่าหายไป 224 ไร่ในพื้นที่แนวพื้นที่ใช้ประโยชน์ของศูนย์ฯ และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบ) และพื้นที่ทำการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 35 โดยพื้นที่เกษตรที่เกษตรกรที่เข้าร่วมทำกิจกรรมส่งเสริมการเกษตรและลงพิกัดแปลงกับศูนย์ฯ ในปี 2562/2563 จำนวนทั้งสิ้น 126 แปลง เป็นพื้นที่ 284 ไร่ (ทั้งนี้ในพื้นที่ที่มาลงพิกัดแปลงกับศูนย์ฯ มีพื้นที่ส่วนที่ทำการเกษตรเข้าไปในพื้นที่ป่า 85.32 ไร่)ขอพื้นที่อยู่อาศัยและสาธารณะคิดเป็นร้อยละ 6 ทั้งนี้พื้นที่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ระดับปานกลาง มีค่า pH 5.5 – 6.0
ภูมิอากาศ : มีอุณหภูมิเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย - มิลลิเมตร/ปี(เครื่องเสีย)
การคมนาคม : จากตัวเมืองเชียงใหม่ถึงศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเรา มีระยะทาง 55 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์1 ชั่วโมง 15 นาที
ข้อมูลหมู่บ้านและประชากร
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเรา มีพื้นที่2 หมู่บ้าน 1 หย่อมบ้าน ประชากร 375 ครัวเรือน จำนวน 2,004 คน ซึ่งเป็นชนเผ่าม้ง ไทใหญ่และคนเมืองในหย่อมบ้านป่าเลา
การปลูกพืช
ผลผลิตหลัก ได้แก่ ผัก มะเขือเทศโครงการหลวง, พริกหวานเขียว, พริกหวานแดง, แตงกวาญี่ปุ่น, พริกหวานเหลือง และยอดชาโยเต้
ผลผลิตรอง ได้แก่ กุหลาบ พันธุ์ Grand gala แดง, พันธุ์Miss Holland ขาว, พันธุ์Josephin ขาว, พันธุ์Gold Strike เหลือง, พันธุ์Persia ชมพูและกุหลาบหนู(กำ)
โครงสร้างพื้นฐาน
ถนน : ทางหลวง หมายเลข 1096 เส้นทาง แม่ริม – สะเมิง กิโลเมตรที่ 45 มีทางแยกเข้าหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตแยกซ้ายเข้ามาในหมู่บ้าน เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร และอีกเส้นทางหนึ่งถนน ทางหลวง หมายเลข 1096 เส้นทาง แม่ริม – สะเมิง กิโลเมตรที่ 45 มีทางแยกเข้าหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตแยกซ้ายเข้ามาในหมู่บ้าน เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร และอีกเส้นทางหนึ่งมาจากทางหลวงหมายเลข 1269 เส้นทาง อ.หางดง – สะเมิง กิโลเมตรที่ 42 แยกขวาเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ระยะทาง 2.5 กิโลเมตร
ไฟฟ้า : มีระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใช้ในหมู่บ้าน จำนวน 2 หมู่บ้าน 1 หย่อมบ้าน
น้ำ : ระบบน้ำใช้ในพื้นที่เป็นระบบประปาภูเขา จากอ่างเก็บน้ำของหมู่บ้านเป็นระบบน้ำประปาภูเขา และมีอ่างน้ำเพื่อการเกษตรของแต่ละชุมชนคือ บ้านบวกจั่น จำนวน 2 อ่างซึ่ง 1 อ่างน้ำ ระบบน้ำใช้ในพื้นที่เป็นระบบประปาภูเขา จากอ่างเก็บน้ำของหมู่บ้านเป็นระบบน้ำประปาภูเขา และมีอ่างน้ำเพื่อการเกษตรของแต่ละชุมชนคือ บ้านบวกจั่น จำนวน 2 อ่างซึ่ง 1 อ่างสร้างโดยกรมชลประทาน และ 1 อ่างสร้างโดยศูนย์พัฒนาที่ดิน และมีบ่อ บาดาล 1 บ่อให้การสนับสนุนโดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลเพื่อใช้อุปโภคบริโภคซึ่งมีปริมาณน้ำไม่มากนักและในส่วนของเกษตรกรบางรายมีบ่อน้ำอยู่ในพื้นที่ส่วนตัว สำหรับบ้านบวกเต๋ยระบบน้ำก็เป็นระบบประปาภูเขาเช ่นกัน เกษตรกรแต่ละราย หรือเป็นกลุ ่มตระกูลมีบ่อน้ำเป็นของส่วนตัวสำหรับใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภคในครัวเรือน และมีบ่อบาดาลจำนวน 1 บ่อที่ทางกรมทรัพยากรน้ำบาดาลให้การสนับสนุนผ่านโครงการหลวงทุ่งเรา สามารถใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคได้โดยหย่อมบ้านป่าเลา มีอ่างน้ำที่สร้างโดยกรมชลประทานจำนวน 2 อ่าง(1 อ่างตื้นเขิน) และมีบ่อกระจายน้ำที่สร้างโดยชลประทานอยู่จำนวน 7 บ่อ กระจายอยู่ในพื้นที่ (ปัจจุบัน 3 บ่อใช้งานไม่ได้) และมีบ่อน้ำบาดาลจำนวน 3 บ่อ ปัจจุบันในช่วงฤดูแล้งยังขาดแคลนน้ำอยู่ โดยส่วนหนึ่งที่จะต้องเร่งแก้ไขโดยเฉพาะความเข้าใจในการใช้น้ำของเกษตรกรซึ่งต้องได้รับความร่วมมือกันหลายๆ หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนภารกิจของศูนย์ฯเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
โทรศัพท์ : ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเรา จ.เชียงใหม่ 081-9527650 หัวหน้าศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเรา จ.เชียงใหม่ 081-9505417
สภาพเศรษฐกิจสังคม
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเรา ส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตรอาชีพหลัก คือ การปลูกพืชผัก เช่น มะเขือเทศโครงการหลวง, พริกหวานเขียว, พริกหวานแดง, แตงกวาญี่ปุ่น, พริกหวานเหลืองและยอดชาโยเต้การปลูกไม้ดอกเช่น ดอกกุหลาบ พันธุ์Grand galaแดง, พันธุ์ Miss Holland ขาว, พันธุ์ Josephinขาว, พันธุ์ Gold Strikeเหลือง, พันธุ์ Persiaชมพูและกุหลาบหนู(กำ)รวมทั้งปลูกไม้ผลเช่น อะโวคาโด สตรอว์เบอร์รีและงานหัตถกรรมโดยชุมชนทำใช้เองในพื้นที่และจำหน่ายเองบ้างเล็กน้อย
รายได้เฉลี่ย : รายได้เฉลี่ย เกษตรกรมีรายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ประมาณ 112,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปีรายได้ส่วนใหญ่มาจากภาคการเกษตร
การรวมกลุ่มเกษตรกร : การรวมกลุ่มเกษตรกร เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม ได้แก่กลุ่มออมทรัพย์ผู้สูงอายุกลุ่มสหกรณ์การเกษตรกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและกลุ่มผู้ใช้น้ำ ซึ่งแต่ละกลุ่มยังไม่เข้มแข็ง
บริการสาธารณสุข : บริการสาธารณสุข ใช้บริการโรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลสะเมิง หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโป่งแยง
ความช่วยเหลือจากภาครัฐ : ความช่วยเหลือจากภาครัฐ หน่วยงานราชการต่างๆ ในพื้นที่และองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งแยง เทศบาลตำบลสะเมิงใต้
อาชีพหลักและอาชีพรองของเกษตรกร : อาชีพหลักและอาชีพรองของเกษตรกร เกษตรกรมีอาชีพหลัก คือ การปลูกพืชทางการเกษตร ได้แก่ พืชผัก มะเขือเทศโครงการหลวง, พริกหวานเขียว, พริกหวานแดง, แตงกวาญี่ปุ่น, พริกหวานเหลือง และยอดชาโยเต้อาชีพรอง คือ ปลูกไม้ดอก ได้แก่ กุหลาบ พันธุ์ Grand gala แดง, พันธุ์Miss Holland ขาว ,พันธุ์Josephin ขาว, พันธุ์Gold Strike เหลือง, พันธุ์Persia ชมพูและกุหลาบหนู(กำ)
อ้างอิง :
2 ส.ค. 2565
19 ก.ค. 2565
16 ส.ค. 2565
30 ส.ค. 2565