Last updated: 3 พ.ค. 2565 | 7204 จำนวนผู้เข้าชม |
“...ให้จัดตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ เพื่อลดพื้นที่การปลูกฝิ่นของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงในหมู่บ้านขุนแปะ และหมู่บ้านจร โดยหาพืชอื่นที่มีรายได้มากกว่าฝิ่นมาทดแทนให้ชาวเขาทำกินในพื้นที่อย่างถาวร และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในหมู่บ้าน...”
พระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ประวัติความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรบ้านขุนแปะ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2527 เดิมมีจำนวนประชากร 250 ครัวเรือน จำนวน 2 หมู่บ้าน คือหมู่บ้านขุนแปะ และหมู่บ้านแม่จร ประกอบด้วย ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง และม้ง ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากจนเส้นทางคมนาคมลำบาก และมีการบุกรุกป่าต้นน้ำลำธาร เพื่อปลูกฝิ่น และทำไร่เลื่อนลอย ด้วยเหตุนี้จึงทรงมีพระดำริให้หม่อมเจ้าภีศเดชรัชนีและอาสาสมัครคณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการสำรวจพื้นที่จัดตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ และก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2527 นำงานพัฒนาด้านต่างๆ เข้าดำเนินการในพื้นที่มีเป้าหมายหลักเพื่อลดพื้นที่การปลูกฝิ่น หาพืชอื่นที่มีรายได้มากกว่าฝิ่นมาทดแทนให้ชาวเขาทำกินในพื้นที่อย่างถาวรและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในหมู่บ้าน
ปัจจุบัน เกษตรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ มีอาชีพการทำการเกษตร ปลูกพืชผักสมุนไพร ไม้ผลไม้ดอก สภาพสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการปลูกพืชผัก ไม้ผลเมืองหนาว และไม้ดอก มีเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมกับศูนย์ฯ ขุนแปะ มีจำนวน 336 ราย จำนวน 4 หมู่บ้าน
การดำเนินงานด้านการส่งเสริม/การวิจัย
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ มุ่งพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรในการเพาะปลูกพืชผักภายใต้ระบบมาตรฐานอาหารปลอดภัย ได้แก่ ระบบมาตรฐานการเพาะปลูกพืชที่ดี(GAP) มาตรฐานอินทรีย์และส่งเสริมการปลูกไม้ผลกาแฟ สร้างรายได้ที่มั่นคงและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแก่เกษตรกร มีจำนวนเกษตรกรที่เป็นสมาชิก จำนวน 336 ราย นอกจากนี้ยังส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการปลูกป่าชาวบ้านตามแนวพระราชดำริป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่างการปลูกหญ้าแฝกเพื่อลดการพังทลายของดิน และพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเข้มแข็งของคนและชุมชน โครงการหมู่บ้านปลอดยาเสพติดการพัฒนาสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อมให้แก ่ชุมชนชาวเขา รวมไปถึงการรวมกลุ ่มจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรและกิจกรรมกลุ ่มออมทรัพย์ตลอดจนเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรที่สูงแก่นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร และผู้สนใจทั่วไป
ลักษณะทั่วไปของพื้นที่
ที่ตั้ง : บ้านขุนแปะ 96 หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
ภูมิประเทศ : ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไป เป็นพื้นที่ลาดชันสลับกับที่ราบสูงตามหุบเขา พื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 800 – 1,200 เมตร ดินมีความอุดมสมบูรณ์ระดับปานกลางค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ที่ 4.5-5.5
การใช้ประโยชน์ที่ดิน : ประกอบด้วย พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 22,569 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 64.3 พื้นที่ทำการเกษตร 11,890 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 33.8 และเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและสาธารณะ 673.59 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.90
ภูมิอากาศ : มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 37 องศาเซลเซียสอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 6 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 1,507 มิลลิเมตร
การคมนาคม : การเดินทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ถึงศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ มีระยะทาง 105 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ 2.5 ชั่วโมง
การปลูกพืช
ผลผลิตหลัก : ได้แก่ คอสสลัด กะหล่ำปลีผักกาดขาวปลี
ผลผลิตรอง : ได้แก่ผักกาดหอมห่อ เบบี้คอส บรอกโคล
โครงสร้างพื้นฐาน
ถนน : เป็นถนนลาดยาง 8 กิโลเมตร คอนกรีต 14 กิโลเมตร
ไฟฟ้า : มีระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใช้ในหมู่บ้าน จำนวน 4 หมู่บ้าน
น้ำ : ประปาภูเขา 4 หมู่บ้าน/ชุมชน และมีแหล่งน้ำการเกษตร 4 หมู่บ้าน/ชุมชน แต่พบว่าขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคในฤดูแล้ง เนื่องจากแหล่งต้นทุนธรรมชาติไม่เพียงพอ
โทรศัพท์ : ไม่มี
สภาพเศรษฐกิจสังคม
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนแปะ ส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตรอาชีพหลัก คือ การปลูกพืชผัก เช่น กะหล่ำปลีหอมแดง มะเขือเทศ รวมทั้งปลูกไม้ผล เช่น เสาวรส อะโวคาโด และพืชอื่นๆ เช่น ไม้ดอก/ไม้ตัดใบ อาชีพรอง คือ เลี้ยงสัตว์และงานหัตถกรรม
รายได้เฉลี่ย : เกษตรกรมีรายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ประมาณ 67,431 บาทต่อครัวเรือนต่อปีรายได้ส่วนใหญ่มาจากภาคการเกษตร
การรวมกลุ่มเกษตรกร : เกษตรกรมีการรวมกลุ่ม ได้แก่กลุ่มทอผ้ากลุ่มท่องเที่ยวกลุ่มออมทรัพย์กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง
บริการสาธารณสุข : ใช้บริการ รพสต.บ้านขุนแปะ และโรงพยาบาลจอมทอง
ความช่วยเหลือจากภาครัฐ : หน่วยงานราชการต่างๆ ในพื้นที่และเทศบาลตำบลบ้านแปะ
อาชีพหลักและอาชีพรองของเกษตรกร : เกษตรกรมีอาชีพหลัก คือ การปลูกพืชทางการเกษตร ได้แก่การปลูกพืชผัก ไม้ผล ไม้ดอก อาชีพรอง คือ เลี้ยงสัตว์และงานหัตถกรรม
อ้างอิง :
16 ส.ค. 2565
30 ส.ค. 2565
2 ส.ค. 2565
19 ก.ค. 2565