Last updated: 20 ธ.ค. 2564 | 4795 จำนวนผู้เข้าชม |
“หมู่บ้านวังน้ำมอก บ้านดอนขนุน บ้านภูพนังม่วงและหมู่บ้านอื่นๆ บริเวณที่ตั้งอยู่ใกล้ป่า ต้นน้ำห้วยทอน สมควรที่จะพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อช่วยเหลือราษฎรมีน้ำในการเพาะปลูก พัฒนาอาชีพให้มั่นคงอย่างต่อเนื่องและพัฒนาหมู่บ้าน ในรูปหมู่บ้านป่าไม้เพื่อป้องกันไม่ให้ราษฎรเข้าไปบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร”
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2535 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงนมัสการ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฐ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) ณ วัดหินหมากเป้ง ตำบลด่านศรีสุข อำเภอศรีเชียงใหม่ และทรงเยี่ยมราษฎร อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย และได้ทรงมีกระแสพระราชดำรัสว่า “หมู่บ้านวังน้ำมอก บ้านดอนขนุน บ้านภูพนังม่วงและหมู่บ้าน อื่นๆ บริเวณที่ตั้งอยู่ใกล้ป่า ต้นน้ำห้วยทอน สมควรที่จะพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อช่วยเหลือราษฎรมีน้ำในการเพาะปลูก พัฒนาอาชีพให้มั่นคงอย่างต่อเนื่องและพัฒนาหมู่บ้าน ในรูปหมู่บ้านป่าไม้เพื่อป้องกันไม่ให้ราษฎรเข้าไปบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร” และสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ได้แจ้งให้จังหวัดหนองคายทราบว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระราชดำริ ในการพัฒนาแหล่งน้ำในบริเวณดังกล่าวเพิ่มเติมว่า ควรพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำทอน เพื่อจัดหาแหล่งน้ำ ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกจำนวนหลายหมู่บ้าน ของอำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย และอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งพื้นที่ตำบลคำด้วง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติป่านายูง-ป่าน้ำโสม เป็นพื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำทอน ที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายของดินสูง และดินขาดความอุดมสมบูรณ์เป็นเวลานานมาต่อเนื่อง สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขา และหินเขาสลับกันไป มียอดเขาชื่อภูยาอู่ สูงประมาณ 588 เมตร จากระดับน้ำทะเล ซึ่งมีจำนวนพื้นที่โครงการ 76,250 ไร่ เป็นแหล่งกำเนิดของลำห้วยหลายสาย ได้แก่ ลำห้วยตะคลองใหญ่ ห้วยน้ำม้า ห้วยเตาไห ห้วยถ้ำช้าง ห้วยโคกหมอก ห้วยตาดโตน ห้วยทราย และน้ำตกยูงทอง
ลักษณะของดินเป็นดินร่วนปนทรายมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
ลักษณะการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกยางพารา มันสำปะหลัง และทำนา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อป้องกันการชะล้างการพังทลายของหน้าดิน และป้องกันป่าต้นน้ำมิให้ถูกทำลายอีกต่อไป
2. เพื่อเพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกรโดยการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ
3. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพตลอดจนลดค่าใช้จ่ายต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรในพื้นที่โครงการฯ โดยใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ของกรมพัฒนาที่ดิน
4. ป้องกันรักษาต้นน้ำลำธารและควบคุมไฟป่าในพื้นที่โครงการ
5. จัดที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยเพื่อพัฒนาและส่งเสริมอาชีพที่อยู่ในโครงการ
6. เพื่อสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้กับราษฎรและเยาวชน
7. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพระบบเกษตรป่าไม้ให้กับราษฎร
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ลดการชะล้างพังทลายของดินบริเวณพื้นที่ลาดชัน
2. พื้นที่เกษตรกรรมของราษฎรมีความอุดมสมบูรณ์
3. ราษฎรจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยเคมี
4. ราษฎรมีรายได้เพิ่มขึ้น
อ้างอิง :
2 ส.ค. 2565
19 ก.ค. 2565
16 ส.ค. 2565
30 ส.ค. 2565