Last updated: 20 ธ.ค. 2564 | 28880 จำนวนผู้เข้าชม |
ประวัติความเป็นมา
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ได้เริ่มก่อตั้งตามพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวที่เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุเสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๒๔ โดยทรงมีพระราชดำรัส พระราชทานแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ความตอนหนึ่งว่า ดังนี้
"ให้พิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสมจัดทำโครงการพัฒนาด้านอาชีพการประมง และการเกษตรในเขตพื้นที่ดินชายฝั่งทะเลจันทบุรี"
และได้พระราชทานเงินที่ราษฎรจังหวัดจันทบุรีได้ร่วมทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายโดยเสด็จพระราชกุศลในโอกาสดังกล่าว เป็นทุนริเริ่มดำเนินการ
ต่อมาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริเพิ่มเติม ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สาระโดยสรุปว่า
"ให้พิจารณาจัดหาพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม หรือพื้นที่สาธารณประโยชน์เพื่อจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา เช่นเดียว กับศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ให้เป็นศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาในเขตที่ดินชายทะเล"
จังหวัดจันทบุรีได้ร่วมหารือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและพิจารณาความเหมาะสม จึงกำหนดพื้นที่ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นพื้นที่จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 ศูนย์ศึกษาดังกล่าวเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการศึกษา สาธิตและการพัฒนาในเขตที่ดินชายทะเล โดยวิธีการผสมผสานความรู้อันหลากหลายของแต่ละหน่วยงาน เพื่อวางแผนพัฒนาการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสม และยั่งยืนตลอดไป
และเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2531 ได้มีพระราชดำริเกี่ยวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ในโอกาสที่ประธานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นำผู้เข้าร่วมสัมมนาและบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเฝ้าฯ เพื่อรับพระราชทานพระบรมราโชบายเกี่ยวกับการดำเนินงานในช่วงต่อไป ณ ศาลาดุสิดาลัย สาระโดยสรุป คุ้งกระเบนเป็นการศึกษาเกี่ยวกับชายทะเล ต้นไม้ต่าง ๆ ชายทะเล และปลา การประมง
ที่ตั้งโครงการ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ในบริเวณชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศ (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอ่าวไทย) ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ อำเภอท่าใหม่ ตำบลคลองขุด คือ หมู่บ้านเนินประดู่ หมู่บ้านหมูดุด หมู่บ้านจ้าวหลาว หมู่บ้านจ้าวหลาว (หัวแหลม) หมู่บ้านคุ้งกระเบน หมู่บ้านคลองขุด (บน) หมู่บ้านคลองขุด และหมู่บ้านหนองหงส์ และกิ่งอำเภอนายายอาม คือ ตำบลสนามไชย คือ หมู่บ้านหนองโพรง หมู่บ้านคลองบอน หมู่บ้านปากตะโปน หมู่บ้านสนามไชย หมู่บ้านสองพี่น้อง หมู่บ้านนาซา หมู่บ้านอัมพวาและหมู่บ้านท่าแคลง
พื้นที่ดำเนินการ
พื้นที่ดำเนินการและพื้นที่ขยายผลศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ครอบคลุม ๓๓ หมู่บ้าน ในตำบลคลองขุด, ตำบลรำพัน, ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ และ ตำบลสนามไชย, ตำบลกระแจะ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ประมาณ ๗๑,๐๒๕ ไร่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ในการปฏิบัติงานบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ จะเป็นทั้งรูปแบบการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการส่งเสริมพัฒนาอาชีพของราษฎรตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการที่หน่วยงานหนึ่ง หน่วยงานใดจะเป็นทั้ง “ นักอนุรักษ์และนักพัฒนา” ในคราวเดียวกันนั้นย่อมยากต่อการประสบความสำเร็จอีกทั้งการจัดการทรัพยากรมักจะมีข้อขัดแย้งมากมายระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การอนุรักษ์ป่าชายเลนกับการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งทะเล เนื่องจากการจัดการทรัพยากรธรรมชาตินั้นเป็นรูปแบบ “ สหวิทยาการ (INTERDISCIPINARY)” มิใช่การจัดการแบบเบ็ดเสร็จ การที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ จะบรรลุถึงวัตถุประสงค์นั้นจะต้องมีหน่วยงานที่หลากหลายเข้าร่วมโครงการเพื่อการประสานแผน (INTEGRATED PLANNING) การดำเนินงานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความยั่งยืนตลอดไป โดยมีหน่วยงานร่วมดำเนินการประกอบด้วยหน่วยงานในระดับพื้นที่ จำนวน ๓๖ หน่วยงาน จาก 22 กรม/สำนัก ใน 7 กระทรวง โดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานกระทรวงหลักในการพัฒนา
วัตถุประสงค์ของศูนย์ฯ
ผลการดำเนินการ
การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีลักษณะ "สหวิทยาการ" (INTERDISCIPINARY) โดยความร่วมมือจากหลายหน่วยงานเพื่อสร้างรายได้และใช้ทรัพยากรท้องถิ่นหลายกิจกรรม ครอบคลุมถึงการรักษาสภาพป่าโดยการส่งเสริมการปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญ คือ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่างๆ การเลี้ยงปลา และหอย เพื่อเผยแพร่แก่เกษตรกร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงกุ้ง เพื่อที่จะยกระดับฐานะความเป็นอยู่ อาชีพของราษฎรบริเวณรอบอ่าวคุ้งกระเบน และพื้นที่ใกล้เคียงโดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านการประมง และการเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเพื่อเป็นการเพิ่มผลผลิตของประเทศ และเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านการประมง ตลอดจนพัฒนากิจกรรมทางด้านอื่นๆ ควบคู่กันไป และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความสมดุลตามธรรมชาติ การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ ในปีงบประมาณ 2551 มีผลการดำเนินกงานสรุปได้ดังนี้
ประโยชน์ที่ได้รับ
อ้างอิง :
2 ส.ค. 2565
16 ส.ค. 2565
30 ส.ค. 2565
19 ก.ค. 2565