แอนิเมชั่นโครงการพระราชดำริ (ผลิตสื่อ 2565)

    บทความนี้ เป็นการนำเรื่องราวของโครงการพระราชดำริ ซึ่งเกิดขึ้นจากพระปรีชาสามารถในศาสตร์ต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เช่น โครงการเกี่ยวกับดิน น้ำ ป่า และวิศวกรรม มาสื่อในรูปแบบของ "อนิเมชั่น"  เพื่อให้เข้าถึงประชาชนทุกๆ กลุ่ม สั้นๆ เข้าใจง่ายๆ ภายใน 3 นาที
 
ติดตาม ได้จากรายการข้างล่างเลยค่ะ   

ห่างจากตัวเมืองกาญจนบุรีไปทางทิศเหนือ ประมาณ 120 กม. เป็นที่ตั้งของโครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งแต่เดิมเป็นพื้นที่ป่าสงวนที่ถูกบุกรุกทำลาย ทรัพยากรธรรมชาติจึงเสื่อมโทรมลง ความแห้งแล้งได้เข้ามาแทนที่ แต่แล้วการเยียวยาเพื่อรักษาผืนป่าแห่งนี้ก็ได้เริ่มขึ้น ในราวปี 2533 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระราชดำริให้จัดทำโครงการเพื่อช่วยเหลือราษฎรที่อยู่ในพื้นที่นั้น ทรงพระราชทานพระราชดำริให้จัดหาที่ดินจำนวนหนึ่งเพื่อพัฒนาและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ตำบลหนองปรือ อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี และทรงให้จัดหาแหล่งน้ำเป็นอันดับแรก เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตและทรัพยากรธรรมชาติ ให้ฟื้นกลับคืนความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง และพระราชทานชื่อโครงการว่า โครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ลุ่มน้ำนครนายกเป็นลุ่มน้ำสาขาหนึ่งของลุ่มน้ำบางประกง ครอบคลุมพื้นที่ อ.เมือง อ.บ้านนา อ.ปากพลี อ.องครักษ์ จ.นครนายก มีเนื้อที่ประมาณ 2430 ตาราง กม. ไหลไปประจบกับแม่น้ำปราจีนบุรี ลุ่มน้ำนครนายกตอนบนมีต้นกำเนิดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพราะลักษณะภูมิประเทศบริเวณลุ่มน้ำเป็นหุบเขาแคบๆ และพื้นที่สูงชัน เป็นเหตุให้เกิดน้ำไหลบ่าอย่างรุนแรงในช่วงฤดูฝน และน้ำท่วมขังในบริเวณพื้นที่ราบเป็นเวลานาน ซ้ำยังมีปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง

นับตั้งแต่อดีตในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักมีต้นน้ำจากจังหวัดเพชรบูรณ์ ปริมาณน้ำที่เยอะมากและสร้างปัญหาอุกภัยในช่วงน้ำหลากไล่มาถึงลพบุรี สระบุรี อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพฯ รวมถึงปัญหาความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษ ด้วยพระราชหฤทัยที่ทรงห่วงใยราษฎร พระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบตร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระราชดำริถึงการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำ แม่น้ำป่าสัก ให้มีการศึกษาและพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักอย่างจริงจังและเร่งด่วน ซึ่งกรมชลประทานได้สนองแนวพระราชดำริ ในปีพศ 2532 ทรงลงพื้นที่สำรวจสภาพแวดล้อมด้วยพระองค์เอง เขื่อนป่าสักได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นในปี พศ 2537 ใช้เวลาก่อสร้างเขื่อนเป็นเวลา 5 ปี ได้มีพิธีปฐมฤกษ์กักเก็บน้ำเขื่อนในปี พศ 2541 และทรงพระราชทานนามเขื่อนแห่งนี้ว่า “เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อันหมายถึงเขื่อนแม่น้ำป่าสัก ที่กักเก็บน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ” และเป็นเขื่อนที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดในประเทศไทย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้